วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

             

 สมุนไพร

           สมุนไพร  หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น

ความหมาย

          คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น

 

ลักษณะ

          พืชสมุนไพร นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่าง ๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น
พืชสมุนไพร หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ ดังนี้
  1. รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
  2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
  3. กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
  4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
  5. ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้น ๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร

 

ประเภทของยาเภสัชวัตถุ

          ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ
  1. ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ
  2. ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วย ในทางตรงกันข้าม มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพิษ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้เกินขนาดจะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้พัฒนาประเทศมากขึ้น


อ้างอิง : Wikipedia

เกี่ยวกับเรา

Blog สมุนไพรบำรุงสุขภาพด้านต่างๆ


By


  นายกฤนันท์           น้อยบาท      รหัส  5610404711

   นางสาวสุมนชินตรา สังทรัพย์     รหัส  5610404657

หมู่1

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มะละกอ

มะละกอ

มะละกอ ชื่อสามัญ Papaya
มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica papaya L. จัดอยู่ในวงศ์มะละกอ (CARICACEAE)
มะละกอเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีต้นกำเนิดจากอเมริกากลาง เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานมากในบ้านเรา ด้วยการรับประทานสด ๆ หรือนำมาประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้ มะละกอนั้นจัดว่าเป็นไม้ล้มลุก (หลาย ๆ คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น)
ประโยชน์ของมะละกอนั้นก็มีค่อนข้างมาก มีสรรพคุณเป็นทั้งยารักษาโรค โดยสรรพคุณมะละกอก็เช่น ใช้เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น
แต่มีคำแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานมะละกอสุกในปริมาณมาก ๆ หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจจะทำให้ผิวของคุณเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้

ประโยชน์ของมะละกอ

  1. มะละกอมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด ซึ่งช่วยให้สุขภาพของคุณแข็งแรง
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอยู่เสมอ
  3. ช่วยในการชะลอวัย ลดเลือน และป้องกันการเกิดริ้วรอยต่าง ๆ
  4. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
  5. สามารถนำมาใช้เป็นทรีตเมนต์ทำหน้าให้หน้าใสได้อีกด้วย ด้วยการนำมะละกอสุกผสมกับน้ำผึ้งและนมสด แล้วนำมาปั่นให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำมาทาผิวหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออก
  6. ใช้นำมารับประทานเป็นผลไม้หรือของว่าง
  7. ใช้นำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้ม ส้มตำ เป็นต้น
  8. สามารถนำมะละกอไปใช้หมักให้เนื้อนุ่มได้อีกด้วย เพราะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Papain ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผงหมักสำเร็จรูปที่เราเห็นขายกันอยู่ตามท้องตลาดนั่นเอง
  9. นำมาแปรรูป การแปรรูปมะละกอ เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น
  10. มีส่วนช่วยกระตุ้นให้มารดามีน้ำนมมากขึ้น
  11. มะละกอมีส่วนช่วยในการบำรุงประสาทและสมอง
  12. มะละกอมีเอนไซม์ที่เป็นยาช่วยย่อยอาหาร
  13. ช่วยป้องกันลักปิดลักเปิดหรือเลือดออกตามไรฟันได้
  14. ช่วยรักษาอาการขัดเบา ด้วยการใช้รากสดประมาณ 1 กำมือ รากแห้งอีกครึ่งกำมือ หั่นแล้วนำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำมาดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนมื้ออาหาร
  15. เป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้อาการท้องผูก ด้วยการกินเนื้อมะละกอสุก
  16. ช่วยในการย่อยอาหาร
  17. ใช้ฆ่าพยาธิ ด้วยการใช้ยางจากผลดิบซึ่งเป็นยาช่วยย่อยโปรตีน
  18. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา จากรากมะละกอ
  19. ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
  20. ช่วยรักษาอาการเท้าบวม ด้วยการนำใบมะละกอสด ๆ มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเหล้าขาว นำมาพอกบริเวณนั้น ๆ
  21. ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ด้วยใช้รากมะละกอนำมาตำให้แหลกแล้วผสมกับเหล้าขาว นำมาทาบริเวณนั้น ๆ
  22. ใช้รักษาอาการผดผื่นคันขึ้นตามลำตัว ด้วยใช้ใบมะละกอ 1 ใบ เกลือ 1 ช้อนชา น้ำมะนาวจำนวน 2 ผล นำมาตำรวมกันให้ละเอียดแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นผดผื่น
  23. ช่วยรักษาโรคกลาก เกลื้อน เท้าเปื่อย ด้วยการใช้ยางมะละกอดิบมาทาวันละ 3 ครั้ง จะสามารถช่วยฆ่าเชื้อราได้
  24. ช่วยรักษาอาการคันอันเกิดมาจากพิษของหอยคัน ด้วยการใช้ยางมะละกอดิบ ๆ นำมาทาทั้งเช้าและเย็น
  25. หากโดนเสี้ยนหรือหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน หากนำยางมะละกอดิบมาทา หนามจะหลุดออกมา แต่ให้บ่งเปิดปากแผลก่อน
  26. หากโดนตะปูตำเท้าเป็นแผล ให้นำผิวของลูกมะละกอดิบมาตำแล้วนำมาพอกแผล โดยเปลี่ยนใหม่วันละ 2 ครั้ง
  27. ช่วยรักษาแผลพุพอง อักเสบ ด้วยการใช้ใบมะละกอที่แห้งกรอบนำมาบดให้เป็นผง นำไปผสมกับน้ำกะทิผสมให้พอเหนียว แล้วนำมาทาแผลวันละ 3 ครั้ง
  28. ใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้เนื้อมะละกอดิบ ๆ ต้มจนเปื่อย นำมาตำแล้วพอกบริเวณบาดแผล
  29. ใช้รักษาอาการปวดหลังปวดข้อต่าง ๆ ด้วยการรับประทานมะละกอสุกอย่างต่อเนื่องจะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
  30. ช่วยรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้อไม่มีแรง ด้วยการใช้รากมะละกอตัวผู้นำมาแช่เหล้าขาวทิ้งไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำมาทาบริเวณที่กล้ามเนื้อหรือบริเวณที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  31. ช่วยลดอาการปวดบวม ด้วยการนำใบมะละกอสด ๆ ไปย่างไฟหรือใช้น้ำร้อนลวก แล้วนำมาประคบบริเวณที่มีอาการ หรือนำมาตำให้พอพยาบแล้วห่อด้วยผ้าขาวบาง นำมาทำเป็นลูกประคบก็ใช้ได้เหมือนกัน
  32. ช่วยป้องกันการเกิดอาการตับโตหรือโรคที่เกี่ยวกับตับ
  33. เป็นยาช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง
  34. มีงานวิจัยมะละกอพบว่าการรับประทานมะละกอเป็นประจำมีส่วนช่วยในการต่อต้านโรคมะเร็งได้

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอดิบ ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 43 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 10.82 กรัม
  • น้ำตาล 7.82 กรัม
  • เส้นใย 1.7 กรัม
  • ไขมัน 0.26 กรัม
  • โปรตีน 0.47 กรัม
  • วิตามินเอ 47 ไมโครกรัม 6%
  • เบตาแคโรทีน 274 ไมโครกรัม 3%
  • ลูทีนและซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี 1 0.023 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 3 0.357 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 5 0.191 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 6 0.038 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 9 38 ไมโครกรัม 10%
  • วิตามินซี 62 มิลลิกรัม 75%
  • วิตามินอี 0.3 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม 2%
  • ธาตุแคลเซียม 20 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุเหล็ก 0.25 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุแมงกานีส 0.04 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุโพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุโซเดียม 8 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม 1%
  • ไลโคปีน 1,828 ไมโครกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอสุก ต่อ 100 กรัม

  • ประโยชน์ของมะละกอโปรตีน 0.5 กรัม
  • ไขมัน 0.1 กรัม
  • วิตามินซี 70 มิลลิกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม
  • ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม
  • ธาตุโซเดียม 4 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3 0.4 มิลลิกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : Philippine Herbal Medicine)
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, Philippine Herbal Medicine, USDA Nutrient database

ฝรั่ง

ฝรั่ง

ฝรั่ง ชื่อสามัญ Guava
ฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Psidium guajava L. จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE)
ฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลางและในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก และคาดว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยสายพันธุ์ในบ้านเราที่นิยมนำมารับประทานสด ๆ ก็ได้แก่ฝรั่งกิมจู ฝรั่งเวียดนาม ฝรั่งแป้นสีทอง ฝรั่งไร้เมล็ด ฝรั่งกลมสาลี่ เป็นต้น
ฝรั่งเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุดในบรรดาผลไม้ทุกชนิด ในฝรั่งน้ำหนัก 165 กรัม จะให้วิตามินสูงถึง 377 มิลลิกรัม ! มีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 5 เท่า !
ฝรั่งเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่เหมาะมากสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ลดน้ำหนัก หรือผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากฝรั่งอุดมไปด้วยกากใยอาหาร เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้อิ่มนาน ช่วยกำจัดท้องร้อง อาการหิวที่คอยมากวนใจ เพราะกากใยจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ช่วยปรับระดับการใช้อินซูลินของร่างกายให้เหมาะสม และกากใยยังช่วยล้างพิษโดยรวมได้อีกด้วย จึงส่งผลทำให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งสดใส
คำแนะนำ : การรับประทานฝรั่งไม่ควรจะปอกเปลือก ทั้งนี้เพื่อคงคุณค่าของสารอาหาร และไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรรับประทานร่วมกับพริกเกลือ น้ำตาล หรืออื่น ๆ เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้วยังทำให้เราอ้วนขึ้นอีกด้วย

ประโยชน์ของฝรั่ง

  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ซึ่งช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยต่าง ๆ ได้ดี
  2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  3. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ปกป้องผิวหนังจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ
  4. เป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ลดน้ำหนัก หรือควบคุมน้ำหนัก
  5. ช่วยลดไขมันในเลือด
  6. สรรพคุณของฝรั่งช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
  7. ใช้รักษาโรคอหิวาตกโรค
  8. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  9. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
  10. ช่วยป้องกันอาการผิดปกติของหัวใจได้
  11. ใบฝรั่งใช้ในการดับกลิ่นปาก ด้วยการนำใบสด 3-5 ใบมาเคี้ยวแล้วคายกากทิ้ง
  12. ผลอ่อนช่วยบำรุงเหงือกและฝัน
  13. ใบฝรั่งช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน เหงือกบวม
  14. ประโยชน์ของฝรั่งช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟันได้
  15. รากใช้แก้อาการเลือดกำเดาไหล
  16. น้ำต้มผลฝรั่งตากแห้ง ช่วยรักษาอาการเสียงแห้ง แก้คออักเสบ
  17. น้ำต้มใบฝรั่งสดช่วยรักษาอาการท้องเสีย ป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
  18. ใบช่วยรักษาอาการท้องเดิน ท้องร่วง
  19. ชาที่ทำจากใบอ่อนใช้สำหรับรักษาโรคบิด
  20. ผลสุกใช้รับประทานเป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก
  21. ช่วยล้างพิษโดยรวมในร่างกาย
  22. ใบช่วยแก้อาการปวดเนื่องจากเล็บขบ
  23. ใช้ทาแก้ผื่นคัน แผลพุพองได้
  24. ใบใช้แก้แพ้ยุง
  25. ใบฝรั่งใช้รักษาบาดแผล
  26. ใบใช้เป็นยาล้างแผล ดูดหนอง ถอนพิษบาดแผล แก้พิษเรื้อรัง น้ำกัดเท้า
  27. รากใช้แก้น้ำเหลืองเสีย เป็นฝี แผลพุพอง
  28. ใช้ในการห้ามเลือดด้วยการใช้ใบมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่มีเลือดออก (ควรล้างใบให้สะอาดก่อน)
  29. ช่วยในการดับกลิ่นสาบจากแมลงและซากหนูที่ตาย ด้วยการใช้ฝรั่งสุก 2-3 ลูกวางทิ้งไว้ในรัศมีของกลิ่น กลิ่นดังกล่าวก็จะค่อย ๆ หายไป
  30. การรับประทานฝรั่งจะช่วยขจัดคราบอาหารบนตัวฟันได้
  31. เปลือกของต้นฝรั่งนำมาใช้ทำสีย้อมผ้า
  32. นิยมนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ฝรั่งดอง ฝรั่งแช่บ๊วย พายฝรั่ง และขนมอีกหลากหลายชนิด
  33. นำมาใช้ทำเป็นยาแคปซูลแก้ท้องเสียจากใบฝรั่ง ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม ซึ่งบรรจุแคปซูลละ 250 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของฝรั่งต่อ 165 กรัม

  • พลังงาน 112 กิโลแคลอรีสรรพคุณของฝรั่ง
  • เส้นใยอาหาร 8.9 กรัม 36%
  • โปรตีน 4.2 กรัม 8%
  • ไขมัน 1.6 กรัม 2%
  • คาร์โบไฮเดรต 23.6 กรัม 8%
  • วิตามินเอ 1030 IU 21%
  • วิตามินซี 377 มิลลิกรัม 628%
  • วิตามินบี 1 0.1 มิลลิกรัม 7%
  • วิตามินบี 2 0.1 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 3 1.8 มิลลิกรัม 9%
  • กรดโฟลิก 81 ไมโครกรัม 20%
  • ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุโพแทสเซียม 688 มิลลิกรัม 20%
  • ธาตุทองแดง 0.4 มิลลิกรัม 19%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

ใบพลู

ใบพลู 

          ใบพลู พืชสมุนไพรไทย กับสรรพคุณช่วยรักษาสารพัดอาการ ที่เป็นภูมิปัญญาแบบไทย ๆ 

          เอ่ยถึงใบพลู คนฟังจะจินตนาการย้อนยุคไปไกลหลายสิบปี นึกเห็นภาพคุณย่าคุณยายกับตะกร้าหมากและปากแดง ๆ ที่มีน้ำหมากไหลย้อยนิด ๆ ที่มุมปาก และกระโถนสำหรับบ้วนน้ำหมากทิ้ง ที่ต้องเล่าให้เห็นภาพอย่างนี้เพราะคนไทยที่อายุต่ำกว่า 40 ปีแทบจะไม่เคยเห็นวัฒนธรรมการกินหมากพลูกันแล้ว ยังมีบ้างก็ในชนบทต่างจังหวัดที่ยังคุ้นชินตาในวิถีดำรงชีวิตประจำบ้าน (คนที่กินหมากไม่ใช่แค่คุณย่าคุณยายเท่านั้น คุณปู่คุณตาก็กินด้วย แต่ไม่นิยมหิ้วตะกร้าหมาก อย่างมากก็พกใส่ชายพกสักคำสองคำ)
    
          ใบพลูนั้นเป็นของคู่กันกับหมากมาช้านาน คนไทยจึงเรียกว่าหมากพลูคู่กันเสมอ ปัจจุบันบทบาทของหมากพลูที่แพร่หลายคือใช้เป็นเครื่องไหว้บูชาในงานพิธีสำคัญต่าง ๆ หรือใช้ไหว้พระไหว้เทพเจ้า 

          การเคี้ยวหมากพลูกลายเป็นของต้องห้ามของคนไทยตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี มีการตัดต้นหมากและพลูทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งน่าเสียดายยิ่งนักเพราะหมากพลูไม่ได้ใช้ประโยชน์แค่นั้น แต่ยังเป็นยาที่มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะพลูนั้นใช้ประโยชน์ได้เสมือนยาสามัญประจำบ้านปลูกไว้มีแต่ได้ประโยชน์
    
          ย้อนกลับไปในอดีต ใบพลูเป็นสินค้าตัวหนึ่งที่มีการเก็บอากรภาษี ค้างละหนึ่งบาท หรือที่เรียกว่าไม้ค้างพลู (หนึ่งค้างก็เหมื่อนพลูหนึ่งต้น) อันแสดงให้เห็นว่าเป็นพืชสมุนไพรเศรษฐกิจที่มีการซื้อขายกันมายาวนาน และพลูยังเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมการกินหมากของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นไปถึงเอเชียใต้ อย่างมิอาจบอกได้ว่าแท้จริงแล้วต้นกำเนิดการกินหมากพลูนั้นเริ่มมาจากที่ใดกันแน่ ดังนั้นจึงมีการส่งใบพลูและหมากออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ สร้างรายได้เข้าประเทศในสมัยนั้นจำนวนไม่น้อย

 ประโยชน์ของใบพลู

          แม้ปัจจุบันความสำคัญของการบริโภคหมากพลูเรียกได้ว่าแทบจะหมดไปแล้ว ยังเหลือการใช้เป็นเครื่องบูชาที่จะขาดมิได้เท่านั้น จนทำให้ชาวสวนพลูจำนวนไม่น้อยหันหลังให้กลับอาชีพนี้ และบางส่วนที่ยังทำอยู่ก็ดูเหมือนจะไร้ผู้สืบทอด ในความเป็นจริงแล้วอนาคตของสวนพลูยังสดใสเปลี่ยนจากการปลูกแล้วกิน เป็นการปลูกและนำไปสกัดน้ำมันหอมระเหย ตลาดน้ำมันหอมระเหยโดยรวมทุกชนิดนั้นมีมูลค่าการตลาดมหาศาล สำหรับน้ำมันหอมระเหยใบพลูแม้จะไม่ติดอันดับต้น ๆ แต่ราคาซื้อขายต่อกิโลกรัมราคาก็ไม่น้อย ปัจจุบันซื้อขายกันกิโลกรัมละ 23,000-25,000 บาท
   
          อนาคตของชาวสวนพลูยังมีแนวโน้มที่ดีถ้ามีการพัฒนากระบวนการตั้งแต่การปลูกและผลิตอย่างเป็นรูปธรรมกระทั่งไปสู่กระบวนการแปรรูป เพราะน้ำมันหอมระเหยใบพลูสามารถพัฒนาเป็นเครื่องสำอางเพื่อความงาม ยาระงับกลิ่นกาย ยาอมบ้วนปาก น้ำมันนวดคลายกล้ามเนื้อ ขี้ผึ้งหรือครีมฆ่าเชื้อรารักษาโรคเชื้อราต่าง ๆ ทำสบู่ก้อน สบู่เหลว ได้ เป็นต้น
    
          น้ำมันหอมระเหยใบพลู หรือ Betel Vine สกัดจากใบพลู น้ำมันหอมระเหยมีสีเหลืองออกน้ำตาลเข้มมีกลิ่นฉุนค่อนข้างมาก มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้หลายชนิด เหมาะสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในครีมหรือน้ำมันนวดบริเวณช่องท้องเพื่อดูแลระบบทางเดินอาหาร
    
          สรรพคุณของใบพลูคือ ใบ ช่วยกระตุ้นน้ำลาย ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ปวดท้อง แก้ลมพิษและฆ่าพยาธิ รักษาแผลช้ำบวม เลือดกำเดาออก แก้ลมพิษ แก้อาการคัน น้ำมันจากใบ แก้คัดจมูก อมกลั่วคอแก้เจ็บคอ มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด
    
          สารสำคัญในใบพลูมีหลายชนิดซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาและช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ยับยั้งการเติบโตและฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของวัณโรคและเชื้อหนอง ต้านเชื้อราของโรคผิวหนังและกลากเกลื้อน ฮ่องกงฟุต น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ลดการปวดบวมของกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก

 ประโยชน์ของใบพลู
    
การใช้ใบพลูรักษาโรคและอาการต่าง ๆ นั้นพบว่ามีการใช้แบบง่าย ๆ อาทิ 

           ดับกลิ่นปาก ใช้เคี้ยวแล้วคายทิ้งวันละ 2-3 ครั้ง ช่วยดับกลิ่นปากได้ 
           ดับกลิ่นกาย ใช้ใบสดขยี้ให้แหลกแล้วใช้ทาถูที่ใต้รักแร้เป็นประจำ 
           แก้ลมพิษ ใช้ใบสดโขลกให้ละเอียดผสมเหล้าขาวเล็กน้อย ใช้ทาจนหาย 
           แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้ใบสดโขลกให้ละเอียดคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำร้อนสักหนึ่งแก้วดื่ม ช่วยลดอาการปวดจุกแน่นเฟ้อและบำรุงกระเพาะอาหารด้วย 
           ลดปวดบวม ใช้ใบพลูเลือกใบใหญ่ ๆ นำไปอังไฟให้ร้อนใช้ไปประคบบริวณที่ปวดบวมช้ำ 
           รักษากลากและฮ่องกงฟุต เอาใบสดโขลกให้ละเอียดดองกับเหล้าขาวทิ้งไว้ 15 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำใช้ทาบริเวณที่เป็น

มังคุด

มังคุด

มังคุด ชื่อสามัญ Mangosteen
มังคุด ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia × mangostana L. จัดอยู่ในวงศ์มังคุด (CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE)
เชื่อว่าผลไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ และยังเป็นผลไม้ที่นิยมอย่างมากในแถบเอเชีย โดยได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชินีแห่งผลไม้” (Queen of Fruits) อาจเป็นเพราะลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบบนหัวคล้าย ๆ กับมงกุฎของพระราชินี เป็นผลไม้ที่จัดว่ามีประโยชน์มากชนิดหนึ่ง โดยประโยชน์ของมังคุดไม่ได้อยู่แค่เนื้อที่เรานิยมรับประทานกันเท่านั้น เปลือกมังคุดก็มีประโยชน์มากมายในการรักษาโรคเช่นกัน
มังคุดมีสารแซนโทน (Xanthone) ในปริมาณมาก แม้จะมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งและอาการแพ้ต่าง ๆ แต่ก็ยังขาดข้อมูลในการสนับสนุนว่ามังคุดจะสามารถรักษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้จริง ถึงแม้ยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์ แต่ก็พบอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่างในแต่ละบุคคล เช่น มีอาการผิวหนังบวมแดง เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว ปวดศีรษะ ปวดบริเวณข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ถ่ายเหลว ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น
นอกจากนี้มังคุดยังมีสารแทนนิน (Tannin) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติ (ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัย ศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย) ดังนั้นการรับประทานที่ดีที่สุดคือการรับประทานอย่างมีสติ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานผลไม้ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำกัน ไม่อย่างนั้นผลไม้ที่มีประโยชน์มากมายอาจจะกลายเป็นโทษต่อร่างกายเสียเอง
ล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว (สิงหาคม พ.ศ.2555) ได้มีการเปิดตัวผลงานวิจัย “สูตรสารธรรมชาติ ต้านมะเร็งจากมังคุด” โดย ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตราเผยว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นการต่อยอดนำเอาคุณประโยชน์ของสารสกัดจีเอ็ม-1 ที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะราคาแพง ลดการอักเสบได้เป็น 3 เท่าของแอสไพริน และสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสกัดมาจากเปลือกมังคุดสูตรธรรมชาติที่ผสมกับสารสกัดจากงาดำ ฝรั่ง ถั่วเหลือง ใบบัวบก จนได้เป็นอาหารเสริมชนิดดีที่ช่วยปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุล โดยมีผลช่วยเพิ่มการผลิตเม็ดเลือดขาวทีเอช 1 ที่ช่วยในการกำจัดเซลล์มะเร็ง เชื้อรา เชื้อไวรัส และแบคทีเรีย และเม็ดเลือดขาวชนิดทีเอช 17 ที่ช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง อย่างไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
ขณะที่ ศ.พญ.สุมิตรา ทองประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงผลงานวิจัยด้วยการทดสอบผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัด 20 ราย ในระยะเวลา 6 เดือนหลังจากที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารสูตรธรรมชาติร่วมกับน้ำมังคุดสกัดร้อยละ 80 เห็นได้ชัดถึงความเปลี่ยนแปลงว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น หลายคนกินข้าวได้ อาการเจ็บปวดบรรเทาลง ผู้ป่วยบางรายสามารถกลับไปทำงานได้ปกติ โดยทุกรายมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นแม้จะไม่หายจากโรคมะเร็ง จึงช่วยเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการใช้ยารักษาที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

ประโยชน์ของมังคุด

  1. ประโยชน์ของเปลือกมังคุดรับประทานสดเป็นผลไม้หรือทำเป็นน้ำผลไม้อย่าง น้ำมังคุดและน้ำเปลือกมังคุด
  2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย
  3. มีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระต่าง ๆ ได้มากกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ
  4. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง
  5. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง
  6. มีส่วนช่วยป้องกันอาการไข้ (ไข้ระดับต่ำ)
  7. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  8. ช่วยเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
  9. มังคุดรักษาสิว เปลือกมังคุดมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และยังออกฤทธิ์ต้านสิวอักเสบได้ดีอีกด้วย
  10. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า ลดความเครียด
  11. ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
  12. การรับประทานมังคุดเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตดี อารมณ์ดีอยู่เสมอ
  13. สารสกัดจากมังคุดช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดทีเอช 1 และทีเอช 17 มีฤทธิ์ช่วยกำจัดและป้องกันการก่อเกิดเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิดได้
  14. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่าง ๆ อย่าง เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร
  15. ช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  16. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับทางเดินหัวใจ
  17. ช่วยลดความดันโลหิต
  18. ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
  19. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายและลดไขมันที่ไม่ดีในเส้นเลือด
  20. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดเนื้องอกในร่างกาย
  21. มีสวนช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ด้วยคุณสมบัติในการลดและควบคุมระดับน้ำตาล
  22. ช่วยป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้
  23. มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการของโรคหอบหืด
  24. มีส่วนช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  25. ช่วยบำรุงสุขภาพช่องปากและเหงือกให้แข็งแรง
  26. ช่วยลดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์
  27. ช่วยรักษาและสมานแผลในช่องปากหรือปากแตกให้หายเร็วยิ่งขึ้น
  28. ไฟเบอร์จากมังคุดช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
  29. ช่วยบำรุงและฟื้นฟูความสมดุลภายในกระเพาะอาหาร ด้วยการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องร่วง จุกเสียด เกิดแก๊สในกระเพาะและการดูดซึมอาหารบกพร่อง
  30. สรรพคุณมังคุดในทางสมุนไพรจะช่วยแก้อาการท้องเสีย ด้วยการใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ นำมาฝนกับน้ำปูนใส
  31. ช่วยแก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง อาการถ่ายเป็นมูกเลือด ด้วยการใช้เปลือกสดหรือแห้งฝนกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้เปลือกแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้ผลเหมือนกัน
  32. ช่วยให้ระบบทางเดินปัสสาวะอยู่ในสภาวะปกติ
  33. ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่วในไต
  34. มีส่วนช่วยป้องกันอาการตับเสื่อม ไตวาย
  35. ช่วยรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ
  36. เปลือกของมังคุดมีสารแทนนินที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว
  37. ช่วยต่อต้านและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เชื้อรา เชื้อจุลินทรีย์ และไวรัสต่าง ๆ อย่างเชื้อวัณโรค เชื้อ HIV เป็นต้น
  38. ช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง (เปลือก)
  39. ช่วยยับยั้งการเกิดและใช้รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ อย่าง กลากเกลื้อน ผดผื่นคันต่าง ๆ ด้วยการใช้เปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำอาบ หรือใช้น้ำต้มเปลือกมาทาบริเวณที่เป็น
  40. มังคุดสรรพคุณทางยาสมุนไพรใช้เพื่อรักษาอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย ด้วยการใช้เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส
  41. เปลือกมังคุดมีสารช่วยป้องกันเชื้อราจึงเหมาะแก่การหมักปุ๋ย
  42. นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด เป็นต้น
  43. นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ทอฟฟี่มังคุด
  44. มังคุดมีสารจีเอ็ม-1 ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรังจากสิวและอาการแพ้
  45. นำมาแปรรูปเป็นสบู่เปลือกมังคุด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นเต่า รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของโรคผิวหนัง

คุณค่าทางโภชนาการของมังคุดกระป๋อง ต่อ 100 กรัม

  • ประโยชน์ของมังคุดพลังงาน 73 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 17.91 กรัม
  • ใยอาหาร 1.8 กรัม
  • ไขมัน 0.58 กรัม
  • โปรตีน 0.41 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.054 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 2 0.054 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 3 0.286 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 5 0.032 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 6 0.018 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 9 31 ไมโครกรัม 8%
  • วิตามินซี 2.9 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุแมงกานีส 0.102 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุโพแทสเซียม 48 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุโซเดียม 7 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.21 มิลลิกรัม 2%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
แหล่งที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, วิชาการดอทคอม, หนังสือพิมพ์มติชน (13/08/55)

ข่อย

ข่อย

ข่อย ชื่อสามัญ Siamese rough bush, Tooth brush tree
ข่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus asper Lour. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรข่อย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี), ส้มพอ (เลย ร้อยเอ็ด), ซะโยเส่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), สะนาย (เขมร), สมนาย เป็นต้น

ลักษณะของต้นข่อย

  • ต้นข่อย มีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในประเทศไทย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างคดงอ มีปุ่มปมอยู่รอบ ๆ ต้นหรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป ซึ่งอาจจะขึ้นเป็นต้นเดียวหรือเป็นกลุ่ม เปลือกต้นมีสีเทาอ่อน บาง ขรุขระเล็กน้อย แตกเป็นแผ่นบาง ๆ และมียางสีขาวข้นเหนียวซึมออกมา แตกกิ่งก้านมีสาขามาก แตกกิ่งต่ำเป็นพุ่มทึบ และนิยมขยายพันธุ์ด้วยการใช้รากปักชำ เพราะจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าการใช้กิ่งปักชำหรือการเพาะเมล็ด
ต้นข่อยรูปต้นข่อย
  • ใบข่อย ลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ มีขนาดเล็ก แผ่นใบมีสีเขียว เนื้อใบค่อนข้างหนากรอบ ผิวใบสากคล้ายกระดาษทรายทั้งสองด้าน ลักษณะใบคล้ายรูปรีแกมรูปไข่หัวกลับ โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก มีความกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร
  • ดอกข่อย ออกดอกเป็นช่อ มีสีขาวเหลืองอ่อน โดยจะออกปลายกิ่งตามซอกใบ ดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นกระจุก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ต่างดอกกัน
  • ผลข่อย ผลสดมีลักษณะกลมสีเขียว ผลคล้ายรูปไข่ มีขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมล็ดมีขนาดโตเท่ากับเมล็ดพริกไทย มีเนื้อเยื่อหุ้ม ส่วนผลแก่จะมีสีเหลืองใสและมีรสหวาน และเป็นที่ชื่นชอบของพวกนกเป็นอย่างมาก
ใบข่อยผลข่อย

สรรพคุณของข่อย

  1. ต้นข่อยมีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เปลือก)
  2. รากเปลือกใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (รากเปลือก)
  3. เมล็ดสามารถนำมารับประทานเป็นยาอายุวัฒนะได้ (เมล็ด)
  4. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เมล็ด)
  5. เปลือกเมื่อนำมาต้มกับเกลือจะได้เป็นยาอมช่วยแก้รำมะนาดได้ (เปลือก)
  6. เปลือกต้นมีสรรพคุณช่วยแก้ริดสีดวงที่จมูก ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาม้วนทำเป็นยาสูบ (เปลือกต้น)
  7. กิ่งสดช่วยทำให้ฟันทนแข็งแรง ฟันไม่ผุ ไม่ปวดฟัน ด้วยการใช้กิ่งสดประมาณ 5-6 นิ้วฟุต นำมาหั่นแล้วต้มใส่เกลือ เคี่ยวให้งวด เหลือน้ำแค่ครึ่งเดียว นำมาอมเช้าและเย็น (กิ่งสด)
  8. เมล็ดช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากและทางเดินอาหารได้ ด้วยการใช้เมล็ดรับประทานและต้มน้ำอมบ้วนปาก (เมล็ด)
  9. ช่วยแก้ไข้ด้วยการใช้เปลือกนำมาต้มกับน้ำแล้วรับประทาน (เปลือก)
  10. ข่อยมีสรรพคุณช่วยดับพิษภายในร่างกาย (เปลือก)
  11. สรรพคุณข่อยช่วยแก้อาการท้องร่วง (เปลือก)
  12. ช่วยแก้อาการบิด แก้ท้องเสีย ด้วยการใช้เปลือกนำมาต้มกับน้ำแล้วรับประทาน (เปลือก)
  13. ใบข่อยสด ๆ นำมาปิ้งไฟชงกับน้ำดื่ม ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ได้ (ใบ)
  14. ช่วยขับลมในลำไส้ (เปลือก, เมล็ด)
  15. เปลือกใช้ทาริดสีดวง (เปลือก)
  16. ช่วยรักษาแผลได้ (เปลือก, ราก)
  17. ชวยรักษาโรคผิวหนังได้ (เปลือก)
  18. ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ (เปลือก)
  19. ช่วยแก้พยาธิผิวหนัง (เปลือก)
  20. ใบข่อยมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดของมดลูกในระหว่างมีประจำเดือน ด้วยการนำใบมาคั่วให้แห้งแล้วชงกับน้ำดื่ม (ใบ)
  21. เนื้อและแก่น ชาวเชียงใหม่ใช้แก่นข่อยนำมาหั่นเป็นฝอยแล้วมวนเป็นบุหรี่ไว้สูบเพื่อแก้ริดสีดวงที่จมูก (เนื้อ, แก่น, เปลือกต้น)

ประโยชน์ของข่อย

  1. ยางมีน้ำย่อยที่ชื่อว่า milk (lotting enzyme) มีประโยชน์ในการช่วยย่อยน้ำนม
  2. กิ่งข่อยสามารถนำมาใช้แปรงฟันแทนการใช้แปรงสีฟันได้ และยังทำให้ฟันแข็งแรงอีกด้วย แต่ต้องนำมาทุบให้นิ่ม ๆ ก่อนนำมาใช้ (กิ่งข่อย)
  3. ประโยชน์ของข่อย ยางสามารถนำมาใช้กำจัดแมลงได้
  4. ไม้นำมาใช้ทำกระดาษ ทำเป็นสมุดไทยหรือสมุดข่อยได้
  5. ประโยชน์ต้นข่อย เปลือกนำมาใช้ทำปอหรือใช้ทำเป็นกระดาษได้
  6. ประโยชน์ของต้นข่อย นิยมปลูกเพื่อทำรั้ว หรือปลูกไว้เพื่อดัดปรับแต่งเป็นรูปต่าง ๆ ที่เรียกว่าไม้ดัด (ต้นข่อยดัด)
  7. สำหรับต้นข่อย คนไทยโบราณเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไว้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้ผู้อาศัยเกิดความมั่นคง มีความแข็งแกร่ง อดทนได้ดีเยี่ยม ช่วยป้องกันศัตรูจากภายนอก ทำให้แคล้วคลาดจากอันตรายที่เกิดจากผู้ที่ไม่หวังดีหรือศัตรูที่อาจมาทำอันตรายต่อสมาชิกในบ้าน และใบข่อยยังนำมาใช้โบกพัดเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้พ้นไปจากบ้านได้อีกด้วย และเพื่อความเป็นสิริมงคลจะนิยมปลูกต้นข่อยในวันเสาร์และปลูกไว้ทางทิศตะวันออก
  8. สมุดข่อยนอกจากนี้ต้นข่อยเป็นวัสดุที่ใช้ในการสื่อสารที่สำคัญในอดีตหรือที่เรียกกันว่า “สมุดข่อย” เพราะเนื้อไม้มีความแข็งแรงคงทน
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), เว็บไซต์โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพประกอบ : เว็บไซต์สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมัธยมวัดเพลง จังหวัดนนทบุรี, www.kanchanapisek.or.th, photogangs.com (Worachat Tokaew), www.tonkla.tht.in, www.thiposot.com
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)

กานพลู

กานพลู

กานพลู ชื่อสามัญ Clove
กานพลู ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L.M.Perry (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Eugenia caryophyllus (Spreng.) Bullock & S.G.Harrison, Eugenia caryophyllata Thunb.) จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE)
ต้นกานพลู เป็นไม้ยืนต้นและเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่น่าใจ มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นสมุนไพรไทยที่มีรสเผ็ด โดยมีการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวมากที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย ปากีสถาน และศรีลังกา เป็นต้น
เรานิยมนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นดอกตูม ผล ต้น เปลือก ใบ รวมไปถึงน้ำมันหอมระเหย ในบัญชียาสมุนไพร ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) มีการใช้กานพลูเป็นยารักษาอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) โดยปรากฏอยู่ในตำรับยาหลายชนิด ได้แก่ ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ ซึ่งจะมีส่วนประกอบของกานพลูร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อยู่ด้วย มีสรรพคุณช่วยแก้ลม วิงเวียน อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นไส้อาเจียน และยังมีการใช้กานพลูเป็นยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร ซึ่งประกอบไปด้วย ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู ซึ่งจะช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียด อาหารไม่ย่อยเป็นต้น
กานพลูซื้อที่ไหน ? ถ้าซื้อน้อยก็ตามร้านยาแผนไทยทั่วไป ตลาดสด ซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งก็มีขาย ร้านขายเครื่องแกงเครื่องเทศทั่วไป

ประโยชน์ของกานพลู

  1. กานพลูกานพลูมีสารประกอบอย่างฟีโนลิกในปริมาณมาก ซึ่งมีสรรพคุณช่วยเรื่องการต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  2. ใบกานพลูมีส่วนช่วยเผาผลาญแคลอรี ช่วยลดความอยากน้ำตาล และช่วยลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  3. กานพลูแก้ปวดฟัน ด้วยการใช้น้ำมันที่กลั่นมาจากดอกตูมของดอกกานพลูประมาณ 5 หยด แล้วใช้สำลีพันปลายไม้จุ่มน้ำมันนำมาอุดในรูที่ปวดฟันจะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้ หรือจะนำดอกมาเคี้ยวแล้วอมไว้ตรงบริเวณที่มีอาการปวดฟันก็ได้ หรือจะนำดอกกานพลูมาตำให้แหลก ผสมกับเหล้าขาวเล็กน้อยพอให้แฉะ แล้วนำมาอุดฟันบริเวณที่ปวด (น้ำมันสกัด) หรือจะใช้ดอกตูมที่แห้งแล้วนำมาแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟันก็ได้เช่นกัน
  4. ช่วยรักษาโรครำมะนาด (โรคปริทันต์) หรือโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะรอบ ๆ ฟันนั่นเอง ด้วยการนำดอกมาเคี้ยวแล้วอมไว้ตรงบริเวณที่มีอาการของโรค (ดอกตูม)
  5. สมุนไพรกานพลู ช่วยระงับกลิ่นปาก ดับกลิ่นเหล้าได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ดอกตูมของกานพลูประมาณ 3 ดอก อมไว้ในปากจะช่วยลดกลิ่นปากลงไปได้บ้าง และยังเป็นส่วนผสมในน้ำยาบ้วนปากหลายชนิด (ดอกตูม)
  6. ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน หน้ามืดตาลาย (ดอก)
  7. ช่วยแก้อาการสะอึก แก้ซางต่าง ๆ (ดอก)
  8. ดอกตูมของกานพลูใช้รับประทานเพื่อขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ดอกตูม)
  9. ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ (ดอกตูม)
  10. กานพลูมีสรรพคุณช่วยลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ที่เกิดจากการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ (ดอกตูม)
  11. ช่วยกระตุ้นการหลั่งเมือกและช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (ดอกตูม)
  12. ช่วยแก้อาการท้องเสียในเด็ก (ดอกตูม)
  13. ช่วยแก้อาการเหน็บชา (ดอกตูม)
  14. ช่วยรักษาโรคหืดหอบ (ดอกตูม)
  15. สรรพคุณกานพลู ช่วยแก้อาการไอ ด้วยการอมดอกกานพลู ระหว่างอมอาจจะรู้สึกชาปากบ้างเล็กน้อย (ดอกตูม)
  16. ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ดอกตูม)
  17. สรรพคุณของกานพลูช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียวข้น (ดอกตูม)
  18. ช่วยขับน้ำดี (ดอกตูม)
  19. มีส่วนช่วยในการดูดซึมของธาตุเหล็กให้ดียิ่งขึ้น
  20. ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย (ดอกตูม)
  21. ช่วยขับน้ำคาวปลา (ดอกตูม)
  22. ประโยชน์กานพลู ช่วยแก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ (ดอกตูม)
  23. ช่วยขับผายลม จับลมในลำไส้ (ดอกตูม)
  24. เปลือกของต้นการพลู ช่วยแก้อาการปวดท้อง แก้ลม และช่วยคุมธาตุ
  25. ผลของกานพลู นำมาใช้เป็นเครื่องเทศ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม
  26. น้ำมันหอมระเหยของกานพลู (Essential oil) ช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ (น้ำมันหอมระเหย)
  27. น้ำมันหอมระเหยของกานพลู ช่วยทำให้ประสาทสงบ
  28. ใช้เป็นยาระงับอาการชักกระตุก ด้วยน้ำมันหอมระเหยจากกานพลู (น้ำมันหอมระเหย)
  29. ช่วยทำให้ผิวหนังชา ด้วยการใช้น้ำมันหอมระเหยจากดอกกานพลู เพราะมีสาร Eugenol ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ (น้ำมันหอมระเหย)
  30. สรรพคุณของกานพลู ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อบิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนอง เชื้อโรคไทฟอยด์ เป็นต้น (ดอกตูม)
  31. น้ำมันหอมระเหยจากกานพลูมีส่วนช่วยฆ่าเชื้อจากบาดแผล แมลงสัตว์กัดต่อยได้
  32. งานวิจัยพบว่าน้ำมันกานพลูสามารถช่วยละลายลิ่มเลือดและช่วยลดการจับตัวเป็นก้อนได้
  33. กานพลูเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่นำมาใช้ในการย้อมสีผม ซึ่งจะให้สีผมที่ใกล้เคียงกับสีดำ
  34. น้ำมันกานพลู (Clove oil) นำมาใช้ในการแต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นสบู่ และยาสีฟัน
  35. ประโยชน์ของกานพลูน้ำมันกานพลูมีฤทธิ์ในการช่วยไล่ยุงได้
  36. ใช้เป็นส่วนผสมของสมุนไพรในตำรับยาต่าง ๆ หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น พิกัดตรีพิษจักร พิกัดตรีคันธวาต ยาหอมเทพจิต ยาหอมนวโกฐ ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู เป็นต้น
  37. ประโยชน์ของกานพลู เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่แนะนำให้รับประทานของหญิงให้นมบุตรเพราะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และทำให้มีน้ำนมเพิ่มมากขึ้น แต่สำหรับหญิงที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหยกานพลู เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
  38. ผู้ผลิตบางรายได้นำกานพลูมาทำเป็นบุหรี่ หรือที่เรียกกันว่าบุหรี่กานพลู โดยมีการพัฒนาสูตรใหม่ ๆเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรสชาติ ที่มีทั้งรสช็อกโกแลต รสบ๊วย รสวานิลลา รสผลไม้ และอื่น ๆ มากมาย แต่เหล่านี้ก็ยังถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่ดี จึงไม่ขอแนะนำ และบุหรี่กานพลูก็มีพิษเทียบเท่ากับบุหรี่ทั่วไปอีกด้วย
  39. น้ำมันสกัดจากการพลูสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ Lactococcus garvieae ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ เมื่อนำอาหารปลาที่ผสมกับน้ำมันกานพลูมาเลี้ยงปลานิล จะทำให้ปริมาณการตายเนื่องจากการติดเชื้อ L. garvieae ของปลานิลลดลง
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กระชาย

กระชาย

กระชาย (กระชายขาวกระชายเหลือง) ชื่อสามัญ Fingerroot, Chinese ginger, Chinese keys, Galingale
กระชาย ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สมุนไพรกระชาย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพมหานคร), กระชายดำ กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม), จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ เป๊าะสี่ ระแอน เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ละแอน (ภาคเหนือ), ขิงจีน เป็นต้น

ลักษณะของกระชายเหลือง

  • ต้นกระชาย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ มีรากอวบ เป็นรูปทรงกระบอกหรือรูปทรงไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว มีความยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ออกเป็นกระจุก ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มักพบขึ้นในป่าดิบร้อนชื้น
กระชาย
รูปกระชายกระชายเหลือง
เหง้ากระชาย
  • ใบกระชาย คือลักษณะของส่วนที่อยู่เหนือดิน มีประมาณ 2-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะเป็นรูปรี ใบยาวประมาณ 12-50 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร โคนใบมนหรือแหลม ส่วนปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ เส้นกลางใบ ด้านใบ และกาบใบด้านบนจะเป็นร่อง ส่วนด้านล่างจะนูนเป็นสัน ด้านใบเรียบมีความยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ส่วนกาบใบเป็นสีชมพูยาวประมาณ 7-25 เซนติเมตร ระหว่างก้านใบและกาบใบจะมีลิ้นใบ
ใบกระชาย
  • ดอกกระชาย ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด โดยจะออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ละดอกจะมีใบประดับ 2 ใบ มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ เป็นรูปใบหอกกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร ที่กลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ปลายจะแยกเป็น 3 แฉก ส่วนกลีบดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร และปลายแยกเป็น 3 กลีบ เป็นรูปใบหอก มีขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่มี 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1.8 เซนติเมตร ส่วนอีก 2 กลีบจะมีขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้อยู่ 6 อัน แต่มี 5 อันที่เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนมีสีชมพู รูปไข่กลับขนาดเท่ากัน มีความกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร ส่วนอีก 3 กลีบล่างมีสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง มีความกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.7 เซนติเมตร และที่ปลายจะแผ่กว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีสีชมพูหรือสีม่วงแดงเป็นเส้นอยู่เกือบทั้งกลีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ จะมีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์อยู่ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรตัวเมีย
ดอกกระชาย
  • ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่
กระชาย มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง (แต่ในบทความนี้เราจะพูดกันถึงกระชายเหลืองครับ) โดยกระชายเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในแกงป่า หรือผัดต่าง ๆ โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารกันมากที่สุดคือ รากสะสมอาหาร หรือที่เรียกว่า “นมกระชาย” ซึ่งรากกระชายนี้จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถใช้เป็นผักจิ้มได้โดยตรง แต่คนส่วนใหญ่มักจะนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องแกงซะมากกว่า เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี
กระชายที่นิยมใช้กันก็คือกระชายเหลืองและกระชายดำ ซึ่งกระชายดำปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยม จนทำให้กระชายเหลืองถูกลดความสำคัญลงไป แต่ว่ากันว่าในด้านสรรพคุณทางยาสมุนไพร กระชายเหลืองนั้นดีกว่ากระชายดำ เพราะบางทีเราก็คิดไปเองว่าสมุนไพรถ้าเป็นสีเข้มกว่าก็น่าจะมีประโยชน์มากกว่า แถมกระชายดำยังได้รับการโปรโมตทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนทั่วไปหลงคิดว่ากระชายดำนั้นดีกว่ากระชายเหลืองนั่นเอง
กระชายเหลือง
สมุนไพรกระชาย มีสรรพคุณทางยานานับประการ จนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น “โสมไทย” เนื่องจากกระชายกับโสมมีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง เช่น สรรพคุณในการบำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสมุนไพรทั้งสองชนิด ทั้งกระชายและโสมต่างก็เป็นพืชที่มีส่วนสะสมอาหารที่ใช้เป็นยาอยู่ใต้ดินเหมือนกัน แถมยังสามารถเรืองแสงในที่มืดได้เหมือนกันด้วย และในเรื่องของลักษณะที่คล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือน ๆ กัน ซึ่งบางครั้งเราจะเรียกโสมว่า “โสมคน” และเรียกกระชายว่า “นมกระชาย” (เนื่องจากกระชายมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับนมผู้หญิงนั่นเอง และบางครั้งก็ดูคล้ายเพศชาย จึงเกิดความเชื่อที่ว่ามันน่าจะมีความเกี่ยวข้องในเรื่องสรรพคุณทางเพศ)

สรรพคุณของกระชาย

  1. กระชายมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะหัวกระชาย
  2. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
  3. กระชายเหลืองมีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก
  4. ช่วยบำรุงกำลัง เสริมสมรรถภาพทางเพศ บำบัดโรคนกเขาไม่ขันหรือโรคอีดี (Erectile Dysfunctional หรือ ED) (เหง้าใต้ดิน)
  5. ช่วยบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้เหง้าและรากของกระชายนำมาปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด นำมาหั่นตากแห้งแล้วบดจนเป็นผง และให้ใช้ผงแห้งที่เตรียมไว้ประมาณ 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา แล้วรับประทานเพียงครั้งเดียว (เหง้า, ราก)
  6. ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยทำให้กระดูกไม่เปราะบาง
  7. ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย
  8. ช่วยบำรุงกำหนัด แก้อาการกามตายด้าน (เหง้าใต้ดิน)
  9. ช่วยบำรุงสมอง เพราะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีมากขึ้น
  10. ช่วยปรับสมดุลของความดันโลหิตในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตเมื่อความดันโลหิตสูง แต่เมื่อความดันโลหิตต่ำก็จะช่วยทำให้ความดันเพิ่มขึ้นจนเป็นปกติ
  11. สรรพคุณกระชายช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ (ใบ)
  12. กระชายมีสรรพคุณทางยาช่วยแก้โรคในปากและคอ เช่น ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากเป็นแผล (ใบ, เหง้า)
  13. ช่วยแก้ฝ้าขาวในปาก ด้วยการใช้กระชายที่ล้างสะอาดนำมาบดแบบไม่ต้องปอกเปลือก แล้วใส่ในโถปั่นพอหยาบ แล้วนำมาใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น แล้วนำมากินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนชาเล็ก กินวันละ 3 มื้อก่อนอาหารประมาณ 15 นาที ประมาณ 1 อาทิตย์ (ราก)
  14. เหง้าใต้ดินมีรสเผ็ดร้อนและขม มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดท้อง มวนในท้อง อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ด้วยการใช้เหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ ถ้าสดให้ใช้ประมาณ 5-10 กรัม แต่ถ้าเป็นแห้งให้ใช้ประมาณ 3-5 กรัม แล้วนำมาต้มเอาน้ำดื่มแก้อาการ หรือจะนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารไว้รับประทานก็ได้เช่นกัน (เหง้าใต้ดิน)
  15. ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ด้วยการใช้เหง้าสด 1-2 เหง้า ใช้เหง้าที่ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนหรือตำผสมกับน้ำปูนใส หรือจะคั้นให้ข้น ๆ แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาก็ได้ (เหง้า, ราก)
  16. ช่วยแก้บิด โดยใช้เหง้าสดประมาณ 2 เหง้า นำมาบดจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม (เหง้าสด)
  17. ช่วยรักษาอาการท้องเดินในเด็ก (เหง้า, ราก)
  18. รากกระชายมีสรรพคุณช่วยแก้โรคกระเพาะ (ราก)
  19. ช่วยแก้อาการบิดมูกเลือด (เหง้า, ราก)
  20. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะพิการ (เหง้า, ราก)
  21. ช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง ช่วยรักษาโรคไต ช่วยทำให้ไตทำงานได้ดียิ่งขึ้น
  22. ช่วยป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ
  23. ช่วยรักษาอาการกระเพาะปัสสาวะเกร็ง ซึ่งในกรณีนี้อาจจะต้องใช้เม็ดบัวที่ต้มแล้วนำมารับประทานร่วมด้วย
  24. ช่วยแก้อาการไส้เลื่อนในเพศชาย
  25. ช่วยควบคุมไม่ให้ต่อมลูกหมากโต
  26. ช่วยบำรุงมดลูกของสตรี ป้องกันไม่ให้มดลูกโต
  27. แก้อาการตกขาว ช่วยขับระดูขาวของสตรี (เหง้า)
  28. ช่วยขับน้ำคาวปลาของสตรีหลังคลอดบุตร
  29. ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 60 กรัม (6-8 เหง้า) นำมาผสมกับเนื้อมะขามเปียกประมาณ 60 กรัม เกลือแกง 3 ช้อนแกง และนำมาตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว แล้วเคี่ยวจนเหลือ 2 แก้ว นำมารับประทานครั้งละครึ่งแก้วก่อนนอน แล้วรับประทานติดต่อกันประมาณ 1 เดือนจนกว่าจะหาย (เหง้าใต้ดิน)
  30. ใบช่วยถอนพิษต่าง ๆ (ใบ)
  31. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ด้วยการใช้เหง้าหรือรากแก่ ๆ นำมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ แล้วนำไปตากแห้งและนำมาชงกับน้ำดื่ม (ราก, เหง้า)
  32. ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง
  33. เหง้าและรากใช้เป็นยาภายนอก สรรพคุณช่วยรักษาขี้กลาก ขี้เกลื้อน (เหง้า, ราก)
  34. ช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้า ด้วยการใช้รากกระชายทั้งเปลือกมาล้างแล้วผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น ๆ และนำไปบดให้เป็นผงหยาบ ๆ และใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าวมาอุ่นในหม้อใบเล็ก ๆ เติมผงกระชาย ใช้น้ำมัน 3 เท่าของปริมาณกระชาย แล้วนำมาหุงด้วยไฟอ่อน ๆ ราว 15-20 นาที แล้วกรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ในขวดแก้วสีชา นำมาใช้ทาบริเวณที่เป็น (ราก)
  35. ช่วยแก้อาการคันหนังศีรษะจากเชื้อรา ด้วยการใช้น้ำมันดังกล่าว (จากสูตรรักษาโรคน้ำกัดเท้า) นำมาเข้าสูตรทำเป็นแชมพูสระผม หรือจะใช้น้ำมันกระชายโกรกผมแล้วนวดให้เข้าหนังศีรษะก็ได้ แล้วค่อยล้างออก (น้ำมันกระชาย)
  36. ช่วยรักษาฝีด้วยการใช้เหง้ากับรากมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาทาหัวฝีที่บวม จะทำให้หายเร็วยิ่งขึ้น (เหง้า, ราก)
  37. เหง้ามีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคผิวหนังและโรคในช่องปากดีพอสมควร (เหง้า)
  38. กระชายมีสารที่ออกฤทธิ์ช่วยต้านการก่อการกลายพันธุ์ โดยการบริโภครากกระชายสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้
  39. กระชายมีสารที่ออกฤทธิ์ทำให้อนุมูลอิสระเป็นกลาง จึงมีผลช่วยลดความเสียหายของการเกิดอนุมูลอิสระภายในร่างกายได้
  40. กระชายมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ การบริโภคกระชายเป็นประจำอาจได้ผลคล้ายกับการรับประทานยาแอสไพรินและอาจจะช่วยป้องกันการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกายได้
  41. งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ศึกษาพบว่าสารสกัดจากกระชายสามารถช่วยต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลองได้ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
  42. งานวิจัยในประเทศกานาพบว่าสาร Pinostrobin จากรากและใบมีฤทธิ์ช่วยต้านเชื้อ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมาลาเรีย
  43. งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มและเมทานอลจากรากของกระชายมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญเติบโตของเชื้อ Giardia intestinalis ซึ่งเป็นพยาธิเซลล์เดียวในลำไส้ที่ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  44. งานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่าสาร Pinostrobin, Pinocembrin, Panduratin A และ Alpinetin ของกระชายนั้นมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้หลายชนิด

ประโยชน์ของกระชาย
  1. ประโยชน์กระชาย สามารถนำมาทำเป็นน้ำกระชายปั่น ดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่น บำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่าได้เป็นอย่างดี
  2. น้ำกระชายช่วยทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่ายิ่งขึ้น ช่วยทำให้เหนื่อยลง
  3. ช่วยทำให้เส้นผมแข็งแรง เปลี่ยนผมขาวให้กลับเป็นดำ ช่วยทำให้ผมบางกลับมาหนาขึ้น และช่วยแก้ปัญหาผมหงอก ผมร่วงได้
  4. รากนำมาใช้เป็นเครื่องแกงในการประกอบอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อและปลาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาดุก ปลาไหล ปลากุลา เป็นต้น และยังทำให้อาหารมีกลิ่นและรสที่หอมแบบเป็นเอกลักษณ์อีกด้วย
  5. รากกระชายสามารถช่วยไล่แมลงได้ ด้วยการนำตะไคร้ ข่า หอมแดง ใบสะเดาแก่ นำมาตำผสมกันแล้วใช้ผสมกับน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน

วิธีทำน้ำกระชาย

  1. การทำน้ำกระชายให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ กระชายเหลืองสดครึ่งกิโล (หรือจะใช้สูตรผสมก็ได้ โดยใช้กระชายเหลือง 5 ส่วน กระชายดำ 1 ส่วน และกระชายแดง 1 ส่วน) / น้ำผึ้ง / น้ำมะนาว / น้ำเปล่าต้มสุกที่ทิ้งไว้จนเย็น
  2. ขั้นตอนแรกให้นำกระชายมาล้างให้สะอาด ตัดรากที่รกรุงรังออก ตัดหัวและท้ายทิ้งไป ถ้าขูดเปลือกออกบ้างก็จะดีมาก
  3. เมื่อเสร็จแล้วนำมาหั่นเป็นท่อน ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาปั่น
  4. ให้เตรียมผ้าขาวบางรองด้วยกระชอนไว้ให้พร้อม
  5. นำกระชายที่เตรียมไว้ใส่ในโถปั่นและผสมกับน้ำเปล่าต้มสุกพอประมาณ แล้วปั่นจนละเอียด
  6. เสร็จแล้วให้เทใส่กระชอนที่เตรียมไว้ ถ้าน้ำน้อยก็ให้ผสมน้ำเปล่าลงไปอีก แล้วคั้นเอาแต่น้ำเท่านั้น
  7. ที่นี้เราก็จะได้น้ำกระชายเหลืองสด ๆ ซึ่งสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานเป็นเดือน
  8. เมื่อจะดื่มก็เพียงแค่นำมาผสมกับน้ำมะนาว น้ำผึ้งในถ้วยแล้วคนให้เข้ากัน แล้วจึงใส่น้ำกระชายตามลงไป
  9. เมื่อผสมจนรสชาติกลมกล่อมตามที่ต้องการแล้วก็เป็นอันเสร็จ
  10. แต่ถ้ากลัวว่ากลิ่นกระชายจะแรงไป ก็สามารถใช้ใบบัวบกหรือใบโหระพามาปั่นรวมกันก็ได้ตามใจชอบ เพราะไม่มีส่วนผสมที่เป็นสูตรตายตัวเท่าไหร่
Tip : น้ำกระชายไม่ควรเก็บไว้นานมาก เพราะจะทำให้ความซ่าและความหอมของกระชายลดน้อยลง ทำให้เกิดตะกอนที่ก้น ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ควรดื่มให้หมดภายใน 1 อาทิตย์ จะได้ทั้งรสชาติที่ซ่า ดื่มแล้วชื่นใจ พร้อมสรรพคุณอีกเต็ม ๆ ด้วย แต่สำหรับผู้ที่ดื่มน้ำกระชายแล้วมีอาการแปลก ๆ ร้อนวูบวาบ หรือมีอาการเหงื่อออกหรือเรอออกมาก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ หากดื่มไปสักพักเดี๋ยวก็ชินไปเอง
กระชาย
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (เต็ม สมิตินันทน์), เว็บไซต์เทคโนโลยีชาวบ้าน, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เว็บไซต์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดพะเยา, เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ), สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by FotoosVanRobin, besitai, camillenoir, G’s Garden, Ahmad Fuad Morad)

               สมุนไพร            สมุนไพร  หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามต...