วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

มะรุม

มะรุม

มะรุม ชื่อสามัญ Moringa
มะรุมชื่อ วิทยาศาสตร์ Moringa oleifera Lam. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Guilandina moringa L., Hyperanthera moringa (L.) Vahl, Moringa zeylanica Burmann) จัดอยู่ในวงศ์ MORINGACEAE
สมุนไพรมะรุม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), ผักอีฮุม บักฮุ้ม (ภาคอีสาน) เป็นต้น
มะรุมจัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรโดยมีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก เมล็ด ราก เป็นต้น แต่ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นจะใช้เกือบทุกส่วนของต้นมะรุมรวมทั้งเปลือกด้วย
มะรุมอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมหลายชนิด ซึ่งจุดเด่นของมะรุมก็คือจะมีวิตามินเอ ซี แคลเซียม โพแทสเซียม และธาตุเหล็กในปริมาณที่สูงมาก นอกจากนี้มะรุมยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคได้หลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรจะมองว่ามะรุมเป็นยามหัศจรรย์ที่ใช้ในการรักษาโรค แต่ควรจะมองมันเป็นผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเสียมากกว่า เพราะการศึกษาหลายอย่าง ๆ ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย
มะรุมกับความจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือ มะรุมไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว เพราะในตัวของมะรุมเองนั้นก็มีพิษเหมือนกัน เนื่องจากมะรุมเป็นพืชในเขตร้อน สำหรับหญิงตั้งครรภ์หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจจะทำให้แท้งบุตรได้ และยังรวมไปถึงผู้ป้วยโรคเลือดก็ไม่ควรรับประทานมะรุมเช่นกัน เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะมะรุมมีโปรตีนที่ค่อนข้างสูงมาก แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ความว่ามันจะไม่ปลอดภัย เพราะคนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมานานมากแล้ว ซึ่งสำหรับผู้ที่คิดจะดูแลสุขภาพด้วยการหันไปซื้อมะรุมสกัดแคปซูลมารับประทานนั้น ก็ควรจะต้องระมัดระวังและควรเลือกซื้อมะรุมแคปซูลที่มีอย.ด้วย
มะรุม ในส่วนของใบมะรุมควรรับประทานใบสด ๆ ที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป และไม่ควรถูกความร้อนนานเกินไป เพื่อให้ได้ประโยชน์ของสารอาหารอย่างเต็มที่ ซึ่งการใช้ใบมาประกอบอาหารสิ่งที่ต้องระวังก็คือ ไม่ควรให้เด็กทารกในวัยเจริญเติบโตถึง 2 ขวบรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะใบมะรุมมีธาตุเหล็กสูง หรือเด็กที่อายุ 3-4 ขวบควรรับประทานแต่เพียงเล็กน้อย และไม่ว่าจะวัยไหนก็ตามไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ (ไม่ได้เกิดกับทุกคน) ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย

ประโยชน์ของมะรุม

  1. สรรพคุณของมะรุมช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม ไม่ให้หยาบกร้าน
  2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอวัย (น้ำมันมะรุม)
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
  4. ช่วยรักษาโรคขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 10 ขวบ
  5. ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย (ฝัก)
  6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็ง (ใบ, ดอก, ฝัก, เมล็ด, เปลือกของลำต้น)
  7. ช่วยรักษาโรคมะเร็งในกระดูก
  8. ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้อาการแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้น
  9. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย
  10. ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
  11. มะรุมลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบ, ฝัก)
  12. ใช้รักษาโรคหัวใจ (ราก)
  13. มะรุมลดน้ำตาล ช่วยรักษาโรคเบาหวานโดยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาล
  14. ใช้รักษาโรคหอบหืด (Asthma) (ยาง)
  15. ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
  16. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคที่ต่ำลงของผู้ป่วยเอดส์
  17. ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (ดอก)
  18. ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ราก)
  19. ช่วยคุมธาตุอ่อน ๆ (เปลือกของลำต้น)
  20. แก้ลมอัมพาต (เปลือกของลำต้น)
  21. ใช้ขับน้ำตา (ดอก)
  22. ใช้บำรุงสุขภาพและรักษาดวงตาให้สมบูรณ์
  23. ช่วยรักษาโรคตาได้เกือบทุกโรค อย่างเช่น โรคตาต้อ ตามืดมัว เป็นต้น
  24. ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคโพรงจมูกอักเสบ
  25. น้ำมันมะรุมใช้นวดศีรษะ ฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ แก้อาการคันหนังศีรษะ ลดผมร่วง (น้ำมันมะรุม)
  26. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ, น้ำมันมะรุม)
  27. ใช้แก้ไข้และถอนพิษไข้ (ใบ, ยอดอ่อน, ฝัก, เมล็ด)
  28. ใช้แก้อาการไข้หัวลมหรืออาการไข้เปลี่ยนฤดู (ดอก)
  29. ช่วยบรรเทาและรักษาอาการหวัด (เมล็ดมะรุม)
  30. ช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรังให้ดีขึ้น (เมล็ดมะรุม)
  31. ช่วยบรรเทาอาการและลดสิวบนใบหน้า (น้ำมันมะรุม)
  32. ช่วยลดจุดด่างดำจากแสงแดด (น้ำมันมะรุม)
  33. ประโยชน์ของมะรุมใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ใบ)
  34. ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ยาง)
  35. ช่วยแก้อาการปวดหู (Earache) (ยาง)
  36. น้ำมันมะรุมใช้หยอดหูเพื่อป้องกันและฆ่าพยาธิในหู รักษาโรคหูน้ำหนวก เยื่อบุหูอักเสบ
  37. ช่วยรักษาโรคคอหอยพอกชนิดมีพิษ
  38. ช่วยรักษาแผลในปากหรือแผลจากโรคปากนกกระจอก
  39. นำเปลือกของลำต้นมาเคี้ยวกินเพื่อช่วยย่อยอาหาร (เปลือกของลำต้น)
  40. ช่วยขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ (เปลือกของลำต้น)
  41. เปลือกของลำต้นมีสรรพคุณช่วยในการคุมกำเนิด (เปลือกของลำต้น)
  42. ช่วยบำรุงและรักษาปอดให้แข็งแรง และรักษาโรคปอดอักเสบ
  43. รับประทานเมล็ดมะรุมวันละ 1 เมล็ดก่อนนอน ช่วยให้การขับถ่ายในตอนเช้าเป็นไปอย่างปกติและสม่ำเสมอ (เมื่อขับถ่ายเป็นปกติแล้วควรหยุดรับประทาน)
  44. ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ อาการท้องเสีย ท้องผูก
  45. ช่วยรักษาและขับพยาธิในลำไส้ (เมล็ดมะรุม)
  46. ช่วยในการขับปัสสาวะ (ใบ, ดอก)
  47. ช่วยแก้อาการอักเสบ (ใบ)
  48. ช่วยรักษาโรคไขข้อ (Rheumatism) (ราก)
  49. ช่วยบรรทาอาการของโรคเกาต์ บ้างก็ว่าสามารถใช้รักษาโรคเกาต์ได้
  50. ช่วยรักษาโรคกระดูกอักเสบ
  51. ช่วยรักษาโรครูมาติสซั่ม
  52. ช่วยบำรุงและรักษาโรคตับ ไต
  53. น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อตามบั้นเอวและขา
  54. น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อกระชับกล้ามเนื้อ
  55. ใช้แก้อาการปวดตามข้อ (เมล็ด)
  56. แก้อาการบวม (ราก, เมล็ด)
  57. ช่วยลดอาการผื่นคันตามผิวหนังและการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กทารก (น้ำมันมะรุม)
  58. ช่วยรักษาบาดแผล แผลสดเล็ก ๆ น้อย ๆ (ใบ, น้ำมันมะรุม)
  59. ช่วยถอนพิษและลดอาการปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย (น้ำมันมะรุม)
  60. ใช้เป็นยาปฏิชีวนะ
  61. ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (ใบ, ดอก)
  62. ใช้รักษาเชื้อราตามผิวหนัง ศีรษะ ตามซอกเล็บ โรคน้ำกัดเท้า (น้ำมันมะรุม)
  63. สรรพคุณมะรุมน้ำมันมะรุมใช้ทารักษาหูด ตาปลา
  64. ช่วยรักษาโรคเริม งูสวัด
  65. ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้านจุลชีพ
  66. ช่วยฆ่าเชื้อไทฟอยด์ (ยาง)
  67. ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส (syphilis) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง (ยาง)
  68. การรับประทานมะรุมในช่วงตั้งครรภ์จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ HIV ของเด็กทารก
  69. ฝักมะรุมนำมาใช้เป็นไม้ตีกลองได้เหมือนกันนะ โดยเฉพาะในแถบอินเดีย
  70. ใบสดนำมารับประทานได้ ส่วนใบแห้งนำมาทำเป็นผง
  71. เมล็ดบางครั้งนำมาคั่วรับประทานเป็นถั่วได้
  72. เมล็ดมะรุมเมื่อนำมาบดละเอียดสามารถนำไปใช้กรองน้ำได้ ทำให้น้ำตกตะกอนและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ น้ำที่ได้จะค่อนข้างสะอาดและมีรสออกหวาน
  73. น้ำมันที่ได้จากการคั้นเมล็ดสด นำมาใช้เป็นน้ำมันในการปรุงอาหาร
  74. น้ำมันมะรุมนำมาใช้ในการปรุงอาหารชนิดเดียวกับน้ำมันมะกอก แต่ดีกว่าตรงที่ไม่มีกลิ่นเหม็นหืนในภายหลัง
  75. น้ำมันมะรุมนำมาใช้เป็นน้ำยาหล่อลื่นต่าง ๆ ประจำบ้านและช่วยป้องกันสนิม
  76. ประโยชน์มะรุม นิยมนำมะรุมไปทำเป็นอาหารเพื่อรับประทานเป็นผักอย่างเช่น แกงส้ม แกงลาว แกงอ่อม แกงกะหรี่ ยำฝักมะรุม ส่วนดอกมะรุมลวกรับประทานกับน้ำพริก ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อนนำไปต้มสุกรับประทานร่วมกับแจ่ว ลาบ ก้อย
  77. นำมาแปรรูปเป็น “มะรุมแคปซูล” สำหรับเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผัก แต่อยากได้คุณประโยชน์ทางด้านสมุนไพร
  78. นำมาสกัดเป็นน้ำมันมะรุม ซึ่งมีคุณประโยชน์ที่หลากหลาย

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุมสดต่อ 100 กรัม

  • มะรุมพลังงาน 37 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม
  • ใยอาหาร 3.2 กรัม
  • ไขมัน 0.20 กรัม
  • โปรตีน 2.10 กรัม
  • น้ำ 88.20 กรัม
  • วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม 1%
  • วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม. 6%
  • วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม 16%
  • วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม 9%
  • วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม 11%
  • วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม 170%
  • ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม 12%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม 10%
  • ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม 5%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

คุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุมต่อ 100 กรัม

  • มะรุมสรรพคุณพลังงาน 37 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม
  • ใยอาหาร 3.2 กรัม
  • ไขมัน 0.20 กรัม
  • โปรตีน 2.10 กรัม
  • น้ำ 88.20 กรัม
  • วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม 1%
  • วิตามินบี 1 0.0530 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 2 0.074 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี 3 0.620 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 5 0.794 มิลลิกรัม 16%
  • วิตามินบี 6 0.120 มิลลิกรัม 9%
  • วิตามินบี 9 44 ไมโครกรัม 11%
  • วิตามินซี 141.0 มิลลิกรัม 170%
  • ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม 12%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม 10%
  • ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม 5%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ภญ.สุภาพร ปิติพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี, นายแพทย์สุรวุฒิ  ปรีชานนท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคกระดูกและข้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

               สมุนไพร            สมุนไพร  หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามต...