วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

             

 สมุนไพร

           สมุนไพร  หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น

ความหมาย

          คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น

 

ลักษณะ

          พืชสมุนไพร นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่าง ๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น
พืชสมุนไพร หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ ดังนี้
  1. รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
  2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
  3. กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
  4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
  5. ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้น ๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร

 

ประเภทของยาเภสัชวัตถุ

          ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ
  1. ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ
  2. ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วย ในทางตรงกันข้าม มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพิษ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้เกินขนาดจะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้พัฒนาประเทศมากขึ้น


อ้างอิง : Wikipedia

เกี่ยวกับเรา

Blog สมุนไพรบำรุงสุขภาพด้านต่างๆ


By


  นายกฤนันท์           น้อยบาท      รหัส  5610404711

   นางสาวสุมนชินตรา สังทรัพย์     รหัส  5610404657

หมู่1

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มะละกอ

มะละกอ

มะละกอ ชื่อสามัญ Papaya
มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Carica papaya L. จัดอยู่ในวงศ์มะละกอ (CARICACEAE)
มะละกอเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่มีต้นกำเนิดจากอเมริกากลาง เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานมากในบ้านเรา ด้วยการรับประทานสด ๆ หรือนำมาประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้ มะละกอนั้นจัดว่าเป็นไม้ล้มลุก (หลาย ๆ คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น)
ประโยชน์ของมะละกอนั้นก็มีค่อนข้างมาก มีสรรพคุณเป็นทั้งยารักษาโรค โดยสรรพคุณมะละกอก็เช่น ใช้เป็นยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เป็นต้น
แต่มีคำแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานมะละกอสุกในปริมาณมาก ๆ หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจจะทำให้ผิวของคุณเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้

ประโยชน์ของมะละกอ

  1. มะละกอมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่หลายชนิด ซึ่งช่วยให้สุขภาพของคุณแข็งแรง
  2. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอยู่เสมอ
  3. ช่วยในการชะลอวัย ลดเลือน และป้องกันการเกิดริ้วรอยต่าง ๆ
  4. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
  5. สามารถนำมาใช้เป็นทรีตเมนต์ทำหน้าให้หน้าใสได้อีกด้วย ด้วยการนำมะละกอสุกผสมกับน้ำผึ้งและนมสด แล้วนำมาปั่นให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำมาทาผิวหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วค่อยล้างออก
  6. ใช้นำมารับประทานเป็นผลไม้หรือของว่าง
  7. ใช้นำมาปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้ม ส้มตำ เป็นต้น
  8. สามารถนำมะละกอไปใช้หมักให้เนื้อนุ่มได้อีกด้วย เพราะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า Papain ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผงหมักสำเร็จรูปที่เราเห็นขายกันอยู่ตามท้องตลาดนั่นเอง
  9. นำมาแปรรูป การแปรรูปมะละกอ เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น
  10. มีส่วนช่วยกระตุ้นให้มารดามีน้ำนมมากขึ้น
  11. มะละกอมีส่วนช่วยในการบำรุงประสาทและสมอง
  12. มะละกอมีเอนไซม์ที่เป็นยาช่วยย่อยอาหาร
  13. ช่วยป้องกันลักปิดลักเปิดหรือเลือดออกตามไรฟันได้
  14. ช่วยรักษาอาการขัดเบา ด้วยการใช้รากสดประมาณ 1 กำมือ รากแห้งอีกครึ่งกำมือ หั่นแล้วนำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำมาดื่มวันละ 3 ครั้งก่อนมื้ออาหาร
  15. เป็นยาระบายอ่อน ๆ แก้อาการท้องผูก ด้วยการกินเนื้อมะละกอสุก
  16. ช่วยในการย่อยอาหาร
  17. ใช้ฆ่าพยาธิ ด้วยการใช้ยางจากผลดิบซึ่งเป็นยาช่วยย่อยโปรตีน
  18. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา จากรากมะละกอ
  19. ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
  20. ช่วยรักษาอาการเท้าบวม ด้วยการนำใบมะละกอสด ๆ มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับเหล้าขาว นำมาพอกบริเวณนั้น ๆ
  21. ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอก ด้วยใช้รากมะละกอนำมาตำให้แหลกแล้วผสมกับเหล้าขาว นำมาทาบริเวณนั้น ๆ
  22. ใช้รักษาอาการผดผื่นคันขึ้นตามลำตัว ด้วยใช้ใบมะละกอ 1 ใบ เกลือ 1 ช้อนชา น้ำมะนาวจำนวน 2 ผล นำมาตำรวมกันให้ละเอียดแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นผดผื่น
  23. ช่วยรักษาโรคกลาก เกลื้อน เท้าเปื่อย ด้วยการใช้ยางมะละกอดิบมาทาวันละ 3 ครั้ง จะสามารถช่วยฆ่าเชื้อราได้
  24. ช่วยรักษาอาการคันอันเกิดมาจากพิษของหอยคัน ด้วยการใช้ยางมะละกอดิบ ๆ นำมาทาทั้งเช้าและเย็น
  25. หากโดนเสี้ยนหรือหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน หากนำยางมะละกอดิบมาทา หนามจะหลุดออกมา แต่ให้บ่งเปิดปากแผลก่อน
  26. หากโดนตะปูตำเท้าเป็นแผล ให้นำผิวของลูกมะละกอดิบมาตำแล้วนำมาพอกแผล โดยเปลี่ยนใหม่วันละ 2 ครั้ง
  27. ช่วยรักษาแผลพุพอง อักเสบ ด้วยการใช้ใบมะละกอที่แห้งกรอบนำมาบดให้เป็นผง นำไปผสมกับน้ำกะทิผสมให้พอเหนียว แล้วนำมาทาแผลวันละ 3 ครั้ง
  28. ใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้เนื้อมะละกอดิบ ๆ ต้มจนเปื่อย นำมาตำแล้วพอกบริเวณบาดแผล
  29. ใช้รักษาอาการปวดหลังปวดข้อต่าง ๆ ด้วยการรับประทานมะละกอสุกอย่างต่อเนื่องจะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้
  30. ช่วยรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้อไม่มีแรง ด้วยการใช้รากมะละกอตัวผู้นำมาแช่เหล้าขาวทิ้งไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำมาทาบริเวณที่กล้ามเนื้อหรือบริเวณที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  31. ช่วยลดอาการปวดบวม ด้วยการนำใบมะละกอสด ๆ ไปย่างไฟหรือใช้น้ำร้อนลวก แล้วนำมาประคบบริเวณที่มีอาการ หรือนำมาตำให้พอพยาบแล้วห่อด้วยผ้าขาวบาง นำมาทำเป็นลูกประคบก็ใช้ได้เหมือนกัน
  32. ช่วยป้องกันการเกิดอาการตับโตหรือโรคที่เกี่ยวกับตับ
  33. เป็นยาช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง
  34. มีงานวิจัยมะละกอพบว่าการรับประทานมะละกอเป็นประจำมีส่วนช่วยในการต่อต้านโรคมะเร็งได้

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอดิบ ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 43 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 10.82 กรัม
  • น้ำตาล 7.82 กรัม
  • เส้นใย 1.7 กรัม
  • ไขมัน 0.26 กรัม
  • โปรตีน 0.47 กรัม
  • วิตามินเอ 47 ไมโครกรัม 6%
  • เบตาแคโรทีน 274 ไมโครกรัม 3%
  • ลูทีนและซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี 1 0.023 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 2 0.027 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 3 0.357 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 5 0.191 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 6 0.038 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 9 38 ไมโครกรัม 10%
  • วิตามินซี 62 มิลลิกรัม 75%
  • วิตามินอี 0.3 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม 2%
  • ธาตุแคลเซียม 20 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุเหล็ก 0.25 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุแมงกานีส 0.04 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุโพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุโซเดียม 8 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม 1%
  • ไลโคปีน 1,828 ไมโครกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอสุก ต่อ 100 กรัม

  • ประโยชน์ของมะละกอโปรตีน 0.5 กรัม
  • ไขมัน 0.1 กรัม
  • วิตามินซี 70 มิลลิกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 24 มิลลิกรัม
  • ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม
  • ธาตุโซเดียม 4 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 1 0.04 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3 0.4 มิลลิกรัม
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : Philippine Herbal Medicine)
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, Philippine Herbal Medicine, USDA Nutrient database

ฝรั่ง

ฝรั่ง

ฝรั่ง ชื่อสามัญ Guava
ฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Psidium guajava L. จัดอยู่ในวงศ์ชมพู่ (MYRTACEAE)
ฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลางและในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก และคาดว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยสายพันธุ์ในบ้านเราที่นิยมนำมารับประทานสด ๆ ก็ได้แก่ฝรั่งกิมจู ฝรั่งเวียดนาม ฝรั่งแป้นสีทอง ฝรั่งไร้เมล็ด ฝรั่งกลมสาลี่ เป็นต้น
ฝรั่งเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุดในบรรดาผลไม้ทุกชนิด ในฝรั่งน้ำหนัก 165 กรัม จะให้วิตามินสูงถึง 377 มิลลิกรัม ! มีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 5 เท่า !
ฝรั่งเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่เหมาะมากสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ลดน้ำหนัก หรือผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากฝรั่งอุดมไปด้วยกากใยอาหาร เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้อิ่มนาน ช่วยกำจัดท้องร้อง อาการหิวที่คอยมากวนใจ เพราะกากใยจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ช่วยปรับระดับการใช้อินซูลินของร่างกายให้เหมาะสม และกากใยยังช่วยล้างพิษโดยรวมได้อีกด้วย จึงส่งผลทำให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งสดใส
คำแนะนำ : การรับประทานฝรั่งไม่ควรจะปอกเปลือก ทั้งนี้เพื่อคงคุณค่าของสารอาหาร และไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรรับประทานร่วมกับพริกเกลือ น้ำตาล หรืออื่น ๆ เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้วยังทำให้เราอ้วนขึ้นอีกด้วย

ประโยชน์ของฝรั่ง

  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ซึ่งช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยต่าง ๆ ได้ดี
  2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
  3. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ปกป้องผิวหนังจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ
  4. เป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ลดน้ำหนัก หรือควบคุมน้ำหนัก
  5. ช่วยลดไขมันในเลือด
  6. สรรพคุณของฝรั่งช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
  7. ใช้รักษาโรคอหิวาตกโรค
  8. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  9. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
  10. ช่วยป้องกันอาการผิดปกติของหัวใจได้
  11. ใบฝรั่งใช้ในการดับกลิ่นปาก ด้วยการนำใบสด 3-5 ใบมาเคี้ยวแล้วคายกากทิ้ง
  12. ผลอ่อนช่วยบำรุงเหงือกและฝัน
  13. ใบฝรั่งช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน เหงือกบวม
  14. ประโยชน์ของฝรั่งช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟันได้
  15. รากใช้แก้อาการเลือดกำเดาไหล
  16. น้ำต้มผลฝรั่งตากแห้ง ช่วยรักษาอาการเสียงแห้ง แก้คออักเสบ
  17. น้ำต้มใบฝรั่งสดช่วยรักษาอาการท้องเสีย ป้องกันโรคลำไส้อักเสบ
  18. ใบช่วยรักษาอาการท้องเดิน ท้องร่วง
  19. ชาที่ทำจากใบอ่อนใช้สำหรับรักษาโรคบิด
  20. ผลสุกใช้รับประทานเป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก
  21. ช่วยล้างพิษโดยรวมในร่างกาย
  22. ใบช่วยแก้อาการปวดเนื่องจากเล็บขบ
  23. ใช้ทาแก้ผื่นคัน แผลพุพองได้
  24. ใบใช้แก้แพ้ยุง
  25. ใบฝรั่งใช้รักษาบาดแผล
  26. ใบใช้เป็นยาล้างแผล ดูดหนอง ถอนพิษบาดแผล แก้พิษเรื้อรัง น้ำกัดเท้า
  27. รากใช้แก้น้ำเหลืองเสีย เป็นฝี แผลพุพอง
  28. ใช้ในการห้ามเลือดด้วยการใช้ใบมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่มีเลือดออก (ควรล้างใบให้สะอาดก่อน)
  29. ช่วยในการดับกลิ่นสาบจากแมลงและซากหนูที่ตาย ด้วยการใช้ฝรั่งสุก 2-3 ลูกวางทิ้งไว้ในรัศมีของกลิ่น กลิ่นดังกล่าวก็จะค่อย ๆ หายไป
  30. การรับประทานฝรั่งจะช่วยขจัดคราบอาหารบนตัวฟันได้
  31. เปลือกของต้นฝรั่งนำมาใช้ทำสีย้อมผ้า
  32. นิยมนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ฝรั่งดอง ฝรั่งแช่บ๊วย พายฝรั่ง และขนมอีกหลากหลายชนิด
  33. นำมาใช้ทำเป็นยาแคปซูลแก้ท้องเสียจากใบฝรั่ง ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม ซึ่งบรรจุแคปซูลละ 250 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของฝรั่งต่อ 165 กรัม

  • พลังงาน 112 กิโลแคลอรีสรรพคุณของฝรั่ง
  • เส้นใยอาหาร 8.9 กรัม 36%
  • โปรตีน 4.2 กรัม 8%
  • ไขมัน 1.6 กรัม 2%
  • คาร์โบไฮเดรต 23.6 กรัม 8%
  • วิตามินเอ 1030 IU 21%
  • วิตามินซี 377 มิลลิกรัม 628%
  • วิตามินบี 1 0.1 มิลลิกรัม 7%
  • วิตามินบี 2 0.1 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 3 1.8 มิลลิกรัม 9%
  • กรดโฟลิก 81 ไมโครกรัม 20%
  • ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 66 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุโพแทสเซียม 688 มิลลิกรัม 20%
  • ธาตุทองแดง 0.4 มิลลิกรัม 19%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

ใบพลู

ใบพลู 

          ใบพลู พืชสมุนไพรไทย กับสรรพคุณช่วยรักษาสารพัดอาการ ที่เป็นภูมิปัญญาแบบไทย ๆ 

          เอ่ยถึงใบพลู คนฟังจะจินตนาการย้อนยุคไปไกลหลายสิบปี นึกเห็นภาพคุณย่าคุณยายกับตะกร้าหมากและปากแดง ๆ ที่มีน้ำหมากไหลย้อยนิด ๆ ที่มุมปาก และกระโถนสำหรับบ้วนน้ำหมากทิ้ง ที่ต้องเล่าให้เห็นภาพอย่างนี้เพราะคนไทยที่อายุต่ำกว่า 40 ปีแทบจะไม่เคยเห็นวัฒนธรรมการกินหมากพลูกันแล้ว ยังมีบ้างก็ในชนบทต่างจังหวัดที่ยังคุ้นชินตาในวิถีดำรงชีวิตประจำบ้าน (คนที่กินหมากไม่ใช่แค่คุณย่าคุณยายเท่านั้น คุณปู่คุณตาก็กินด้วย แต่ไม่นิยมหิ้วตะกร้าหมาก อย่างมากก็พกใส่ชายพกสักคำสองคำ)
    
          ใบพลูนั้นเป็นของคู่กันกับหมากมาช้านาน คนไทยจึงเรียกว่าหมากพลูคู่กันเสมอ ปัจจุบันบทบาทของหมากพลูที่แพร่หลายคือใช้เป็นเครื่องไหว้บูชาในงานพิธีสำคัญต่าง ๆ หรือใช้ไหว้พระไหว้เทพเจ้า 

          การเคี้ยวหมากพลูกลายเป็นของต้องห้ามของคนไทยตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี มีการตัดต้นหมากและพลูทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งน่าเสียดายยิ่งนักเพราะหมากพลูไม่ได้ใช้ประโยชน์แค่นั้น แต่ยังเป็นยาที่มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะพลูนั้นใช้ประโยชน์ได้เสมือนยาสามัญประจำบ้านปลูกไว้มีแต่ได้ประโยชน์
    
          ย้อนกลับไปในอดีต ใบพลูเป็นสินค้าตัวหนึ่งที่มีการเก็บอากรภาษี ค้างละหนึ่งบาท หรือที่เรียกว่าไม้ค้างพลู (หนึ่งค้างก็เหมื่อนพลูหนึ่งต้น) อันแสดงให้เห็นว่าเป็นพืชสมุนไพรเศรษฐกิจที่มีการซื้อขายกันมายาวนาน และพลูยังเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมการกินหมากของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นไปถึงเอเชียใต้ อย่างมิอาจบอกได้ว่าแท้จริงแล้วต้นกำเนิดการกินหมากพลูนั้นเริ่มมาจากที่ใดกันแน่ ดังนั้นจึงมีการส่งใบพลูและหมากออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ สร้างรายได้เข้าประเทศในสมัยนั้นจำนวนไม่น้อย

 ประโยชน์ของใบพลู

          แม้ปัจจุบันความสำคัญของการบริโภคหมากพลูเรียกได้ว่าแทบจะหมดไปแล้ว ยังเหลือการใช้เป็นเครื่องบูชาที่จะขาดมิได้เท่านั้น จนทำให้ชาวสวนพลูจำนวนไม่น้อยหันหลังให้กลับอาชีพนี้ และบางส่วนที่ยังทำอยู่ก็ดูเหมือนจะไร้ผู้สืบทอด ในความเป็นจริงแล้วอนาคตของสวนพลูยังสดใสเปลี่ยนจากการปลูกแล้วกิน เป็นการปลูกและนำไปสกัดน้ำมันหอมระเหย ตลาดน้ำมันหอมระเหยโดยรวมทุกชนิดนั้นมีมูลค่าการตลาดมหาศาล สำหรับน้ำมันหอมระเหยใบพลูแม้จะไม่ติดอันดับต้น ๆ แต่ราคาซื้อขายต่อกิโลกรัมราคาก็ไม่น้อย ปัจจุบันซื้อขายกันกิโลกรัมละ 23,000-25,000 บาท
   
          อนาคตของชาวสวนพลูยังมีแนวโน้มที่ดีถ้ามีการพัฒนากระบวนการตั้งแต่การปลูกและผลิตอย่างเป็นรูปธรรมกระทั่งไปสู่กระบวนการแปรรูป เพราะน้ำมันหอมระเหยใบพลูสามารถพัฒนาเป็นเครื่องสำอางเพื่อความงาม ยาระงับกลิ่นกาย ยาอมบ้วนปาก น้ำมันนวดคลายกล้ามเนื้อ ขี้ผึ้งหรือครีมฆ่าเชื้อรารักษาโรคเชื้อราต่าง ๆ ทำสบู่ก้อน สบู่เหลว ได้ เป็นต้น
    
          น้ำมันหอมระเหยใบพลู หรือ Betel Vine สกัดจากใบพลู น้ำมันหอมระเหยมีสีเหลืองออกน้ำตาลเข้มมีกลิ่นฉุนค่อนข้างมาก มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้หลายชนิด เหมาะสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในครีมหรือน้ำมันนวดบริเวณช่องท้องเพื่อดูแลระบบทางเดินอาหาร
    
          สรรพคุณของใบพลูคือ ใบ ช่วยกระตุ้นน้ำลาย ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ปวดท้อง แก้ลมพิษและฆ่าพยาธิ รักษาแผลช้ำบวม เลือดกำเดาออก แก้ลมพิษ แก้อาการคัน น้ำมันจากใบ แก้คัดจมูก อมกลั่วคอแก้เจ็บคอ มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด
    
          สารสำคัญในใบพลูมีหลายชนิดซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาและช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ยับยั้งการเติบโตและฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของวัณโรคและเชื้อหนอง ต้านเชื้อราของโรคผิวหนังและกลากเกลื้อน ฮ่องกงฟุต น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ลดการปวดบวมของกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก

 ประโยชน์ของใบพลู
    
การใช้ใบพลูรักษาโรคและอาการต่าง ๆ นั้นพบว่ามีการใช้แบบง่าย ๆ อาทิ 

           ดับกลิ่นปาก ใช้เคี้ยวแล้วคายทิ้งวันละ 2-3 ครั้ง ช่วยดับกลิ่นปากได้ 
           ดับกลิ่นกาย ใช้ใบสดขยี้ให้แหลกแล้วใช้ทาถูที่ใต้รักแร้เป็นประจำ 
           แก้ลมพิษ ใช้ใบสดโขลกให้ละเอียดผสมเหล้าขาวเล็กน้อย ใช้ทาจนหาย 
           แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้ใบสดโขลกให้ละเอียดคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำร้อนสักหนึ่งแก้วดื่ม ช่วยลดอาการปวดจุกแน่นเฟ้อและบำรุงกระเพาะอาหารด้วย 
           ลดปวดบวม ใช้ใบพลูเลือกใบใหญ่ ๆ นำไปอังไฟให้ร้อนใช้ไปประคบบริวณที่ปวดบวมช้ำ 
           รักษากลากและฮ่องกงฟุต เอาใบสดโขลกให้ละเอียดดองกับเหล้าขาวทิ้งไว้ 15 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำใช้ทาบริเวณที่เป็น

มังคุด

มังคุด

มังคุด ชื่อสามัญ Mangosteen
มังคุด ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia × mangostana L. จัดอยู่ในวงศ์มังคุด (CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE)
เชื่อว่าผลไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ และยังเป็นผลไม้ที่นิยมอย่างมากในแถบเอเชีย โดยได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชินีแห่งผลไม้” (Queen of Fruits) อาจเป็นเพราะลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบบนหัวคล้าย ๆ กับมงกุฎของพระราชินี เป็นผลไม้ที่จัดว่ามีประโยชน์มากชนิดหนึ่ง โดยประโยชน์ของมังคุดไม่ได้อยู่แค่เนื้อที่เรานิยมรับประทานกันเท่านั้น เปลือกมังคุดก็มีประโยชน์มากมายในการรักษาโรคเช่นกัน
มังคุดมีสารแซนโทน (Xanthone) ในปริมาณมาก แม้จะมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งและอาการแพ้ต่าง ๆ แต่ก็ยังขาดข้อมูลในการสนับสนุนว่ามังคุดจะสามารถรักษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้จริง ถึงแม้ยังไม่มีรายงานการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์ แต่ก็พบอาการไม่พึงประสงค์หลายอย่างในแต่ละบุคคล เช่น มีอาการผิวหนังบวมแดง เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว ปวดศีรษะ ปวดบริเวณข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย ถ่ายเหลว ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น
นอกจากนี้มังคุดยังมีสารแทนนิน (Tannin) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด หากบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อตับ ไต การเกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนของเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติ (ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัย ศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย) ดังนั้นการรับประทานที่ดีที่สุดคือการรับประทานอย่างมีสติ ด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานผลไม้ให้หลากหลาย ไม่ซ้ำกัน ไม่อย่างนั้นผลไม้ที่มีประโยชน์มากมายอาจจะกลายเป็นโทษต่อร่างกายเสียเอง
ล่าสุดเมื่อปีที่แล้ว (สิงหาคม พ.ศ.2555) ได้มีการเปิดตัวผลงานวิจัย “สูตรสารธรรมชาติ ต้านมะเร็งจากมังคุด” โดย ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตราเผยว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นการต่อยอดนำเอาคุณประโยชน์ของสารสกัดจีเอ็ม-1 ที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะราคาแพง ลดการอักเสบได้เป็น 3 เท่าของแอสไพริน และสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสกัดมาจากเปลือกมังคุดสูตรธรรมชาติที่ผสมกับสารสกัดจากงาดำ ฝรั่ง ถั่วเหลือง ใบบัวบก จนได้เป็นอาหารเสริมชนิดดีที่ช่วยปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุล โดยมีผลช่วยเพิ่มการผลิตเม็ดเลือดขาวทีเอช 1 ที่ช่วยในการกำจัดเซลล์มะเร็ง เชื้อรา เชื้อไวรัส และแบคทีเรีย และเม็ดเลือดขาวชนิดทีเอช 17 ที่ช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง อย่างไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ
ขณะที่ ศ.พญ.สุมิตรา ทองประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงผลงานวิจัยด้วยการทดสอบผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัด 20 ราย ในระยะเวลา 6 เดือนหลังจากที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารสูตรธรรมชาติร่วมกับน้ำมังคุดสกัดร้อยละ 80 เห็นได้ชัดถึงความเปลี่ยนแปลงว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น หลายคนกินข้าวได้ อาการเจ็บปวดบรรเทาลง ผู้ป่วยบางรายสามารถกลับไปทำงานได้ปกติ โดยทุกรายมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นแม้จะไม่หายจากโรคมะเร็ง จึงช่วยเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการใช้ยารักษาที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

ประโยชน์ของมังคุด

  1. ประโยชน์ของเปลือกมังคุดรับประทานสดเป็นผลไม้หรือทำเป็นน้ำผลไม้อย่าง น้ำมังคุดและน้ำเปลือกมังคุด
  2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย
  3. มีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระต่าง ๆ ได้มากกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ
  4. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง
  5. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง
  6. มีส่วนช่วยป้องกันอาการไข้ (ไข้ระดับต่ำ)
  7. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  8. ช่วยเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
  9. มังคุดรักษาสิว เปลือกมังคุดมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และยังออกฤทธิ์ต้านสิวอักเสบได้ดีอีกด้วย
  10. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า ลดความเครียด
  11. ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
  12. การรับประทานมังคุดเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตดี อารมณ์ดีอยู่เสมอ
  13. สารสกัดจากมังคุดช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดทีเอช 1 และทีเอช 17 มีฤทธิ์ช่วยกำจัดและป้องกันการก่อเกิดเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิดได้
  14. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่าง ๆ อย่าง เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร
  15. ช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  16. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับทางเดินหัวใจ
  17. ช่วยลดความดันโลหิต
  18. ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
  19. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายและลดไขมันที่ไม่ดีในเส้นเลือด
  20. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดเนื้องอกในร่างกาย
  21. มีสวนช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ด้วยคุณสมบัติในการลดและควบคุมระดับน้ำตาล
  22. ช่วยป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้
  23. มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการของโรคหอบหืด
  24. มีส่วนช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  25. ช่วยบำรุงสุขภาพช่องปากและเหงือกให้แข็งแรง
  26. ช่วยลดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์
  27. ช่วยรักษาและสมานแผลในช่องปากหรือปากแตกให้หายเร็วยิ่งขึ้น
  28. ไฟเบอร์จากมังคุดช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
  29. ช่วยบำรุงและฟื้นฟูความสมดุลภายในกระเพาะอาหาร ด้วยการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องร่วง จุกเสียด เกิดแก๊สในกระเพาะและการดูดซึมอาหารบกพร่อง
  30. สรรพคุณมังคุดในทางสมุนไพรจะช่วยแก้อาการท้องเสีย ด้วยการใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ นำมาฝนกับน้ำปูนใส
  31. ช่วยแก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง อาการถ่ายเป็นมูกเลือด ด้วยการใช้เปลือกสดหรือแห้งฝนกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้เปลือกแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้ผลเหมือนกัน
  32. ช่วยให้ระบบทางเดินปัสสาวะอยู่ในสภาวะปกติ
  33. ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่วในไต
  34. มีส่วนช่วยป้องกันอาการตับเสื่อม ไตวาย
  35. ช่วยรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ
  36. เปลือกของมังคุดมีสารแทนนินที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว
  37. ช่วยต่อต้านและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เชื้อรา เชื้อจุลินทรีย์ และไวรัสต่าง ๆ อย่างเชื้อวัณโรค เชื้อ HIV เป็นต้น
  38. ช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง (เปลือก)
  39. ช่วยยับยั้งการเกิดและใช้รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ อย่าง กลากเกลื้อน ผดผื่นคันต่าง ๆ ด้วยการใช้เปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำอาบ หรือใช้น้ำต้มเปลือกมาทาบริเวณที่เป็น
  40. มังคุดสรรพคุณทางยาสมุนไพรใช้เพื่อรักษาอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย ด้วยการใช้เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส
  41. เปลือกมังคุดมีสารช่วยป้องกันเชื้อราจึงเหมาะแก่การหมักปุ๋ย
  42. นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด เป็นต้น
  43. นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ทอฟฟี่มังคุด
  44. มังคุดมีสารจีเอ็ม-1 ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรังจากสิวและอาการแพ้
  45. นำมาแปรรูปเป็นสบู่เปลือกมังคุด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นเต่า รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของโรคผิวหนัง

คุณค่าทางโภชนาการของมังคุดกระป๋อง ต่อ 100 กรัม

  • ประโยชน์ของมังคุดพลังงาน 73 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 17.91 กรัม
  • ใยอาหาร 1.8 กรัม
  • ไขมัน 0.58 กรัม
  • โปรตีน 0.41 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.054 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 2 0.054 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 3 0.286 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 5 0.032 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 6 0.018 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 9 31 ไมโครกรัม 8%
  • วิตามินซี 2.9 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแคลเซียม 12 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุแมงกานีส 0.102 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุโพแทสเซียม 48 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุโซเดียม 7 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.21 มิลลิกรัม 2%
% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
แหล่งที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, วิชาการดอทคอม, หนังสือพิมพ์มติชน (13/08/55)

ข่อย

ข่อย

ข่อย ชื่อสามัญ Siamese rough bush, Tooth brush tree
ข่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus asper Lour. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรข่อย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี), ส้มพอ (เลย ร้อยเอ็ด), ซะโยเส่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), สะนาย (เขมร), สมนาย เป็นต้น

ลักษณะของต้นข่อย

  • ต้นข่อย มีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในประเทศไทย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างคดงอ มีปุ่มปมอยู่รอบ ๆ ต้นหรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป ซึ่งอาจจะขึ้นเป็นต้นเดียวหรือเป็นกลุ่ม เปลือกต้นมีสีเทาอ่อน บาง ขรุขระเล็กน้อย แตกเป็นแผ่นบาง ๆ และมียางสีขาวข้นเหนียวซึมออกมา แตกกิ่งก้านมีสาขามาก แตกกิ่งต่ำเป็นพุ่มทึบ และนิยมขยายพันธุ์ด้วยการใช้รากปักชำ เพราะจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าการใช้กิ่งปักชำหรือการเพาะเมล็ด
ต้นข่อยรูปต้นข่อย
  • ใบข่อย ลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ มีขนาดเล็ก แผ่นใบมีสีเขียว เนื้อใบค่อนข้างหนากรอบ ผิวใบสากคล้ายกระดาษทรายทั้งสองด้าน ลักษณะใบคล้ายรูปรีแกมรูปไข่หัวกลับ โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก มีความกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร
  • ดอกข่อย ออกดอกเป็นช่อ มีสีขาวเหลืองอ่อน โดยจะออกปลายกิ่งตามซอกใบ ดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นกระจุก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ต่างดอกกัน
  • ผลข่อย ผลสดมีลักษณะกลมสีเขียว ผลคล้ายรูปไข่ มีขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมล็ดมีขนาดโตเท่ากับเมล็ดพริกไทย มีเนื้อเยื่อหุ้ม ส่วนผลแก่จะมีสีเหลืองใสและมีรสหวาน และเป็นที่ชื่นชอบของพวกนกเป็นอย่างมาก
ใบข่อยผลข่อย

สรรพคุณของข่อย

  1. ต้นข่อยมีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เปลือก)
  2. รากเปลือกใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (รากเปลือก)
  3. เมล็ดสามารถนำมารับประทานเป็นยาอายุวัฒนะได้ (เมล็ด)
  4. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เมล็ด)
  5. เปลือกเมื่อนำมาต้มกับเกลือจะได้เป็นยาอมช่วยแก้รำมะนาดได้ (เปลือก)
  6. เปลือกต้นมีสรรพคุณช่วยแก้ริดสีดวงที่จมูก ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาม้วนทำเป็นยาสูบ (เปลือกต้น)
  7. กิ่งสดช่วยทำให้ฟันทนแข็งแรง ฟันไม่ผุ ไม่ปวดฟัน ด้วยการใช้กิ่งสดประมาณ 5-6 นิ้วฟุต นำมาหั่นแล้วต้มใส่เกลือ เคี่ยวให้งวด เหลือน้ำแค่ครึ่งเดียว นำมาอมเช้าและเย็น (กิ่งสด)
  8. เมล็ดช่วยฆ่าเชื้อในช่องปากและทางเดินอาหารได้ ด้วยการใช้เมล็ดรับประทานและต้มน้ำอมบ้วนปาก (เมล็ด)
  9. ช่วยแก้ไข้ด้วยการใช้เปลือกนำมาต้มกับน้ำแล้วรับประทาน (เปลือก)
  10. ข่อยมีสรรพคุณช่วยดับพิษภายในร่างกาย (เปลือก)
  11. สรรพคุณข่อยช่วยแก้อาการท้องร่วง (เปลือก)
  12. ช่วยแก้อาการบิด แก้ท้องเสีย ด้วยการใช้เปลือกนำมาต้มกับน้ำแล้วรับประทาน (เปลือก)
  13. ใบข่อยสด ๆ นำมาปิ้งไฟชงกับน้ำดื่ม ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ได้ (ใบ)
  14. ช่วยขับลมในลำไส้ (เปลือก, เมล็ด)
  15. เปลือกใช้ทาริดสีดวง (เปลือก)
  16. ช่วยรักษาแผลได้ (เปลือก, ราก)
  17. ชวยรักษาโรคผิวหนังได้ (เปลือก)
  18. ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ (เปลือก)
  19. ช่วยแก้พยาธิผิวหนัง (เปลือก)
  20. ใบข่อยมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดของมดลูกในระหว่างมีประจำเดือน ด้วยการนำใบมาคั่วให้แห้งแล้วชงกับน้ำดื่ม (ใบ)
  21. เนื้อและแก่น ชาวเชียงใหม่ใช้แก่นข่อยนำมาหั่นเป็นฝอยแล้วมวนเป็นบุหรี่ไว้สูบเพื่อแก้ริดสีดวงที่จมูก (เนื้อ, แก่น, เปลือกต้น)

ประโยชน์ของข่อย

  1. ยางมีน้ำย่อยที่ชื่อว่า milk (lotting enzyme) มีประโยชน์ในการช่วยย่อยน้ำนม
  2. กิ่งข่อยสามารถนำมาใช้แปรงฟันแทนการใช้แปรงสีฟันได้ และยังทำให้ฟันแข็งแรงอีกด้วย แต่ต้องนำมาทุบให้นิ่ม ๆ ก่อนนำมาใช้ (กิ่งข่อย)
  3. ประโยชน์ของข่อย ยางสามารถนำมาใช้กำจัดแมลงได้
  4. ไม้นำมาใช้ทำกระดาษ ทำเป็นสมุดไทยหรือสมุดข่อยได้
  5. ประโยชน์ต้นข่อย เปลือกนำมาใช้ทำปอหรือใช้ทำเป็นกระดาษได้
  6. ประโยชน์ของต้นข่อย นิยมปลูกเพื่อทำรั้ว หรือปลูกไว้เพื่อดัดปรับแต่งเป็นรูปต่าง ๆ ที่เรียกว่าไม้ดัด (ต้นข่อยดัด)
  7. สำหรับต้นข่อย คนไทยโบราณเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นไม้ชนิดนี้ไว้ประจำบ้าน จะช่วยทำให้ผู้อาศัยเกิดความมั่นคง มีความแข็งแกร่ง อดทนได้ดีเยี่ยม ช่วยป้องกันศัตรูจากภายนอก ทำให้แคล้วคลาดจากอันตรายที่เกิดจากผู้ที่ไม่หวังดีหรือศัตรูที่อาจมาทำอันตรายต่อสมาชิกในบ้าน และใบข่อยยังนำมาใช้โบกพัดเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้พ้นไปจากบ้านได้อีกด้วย และเพื่อความเป็นสิริมงคลจะนิยมปลูกต้นข่อยในวันเสาร์และปลูกไว้ทางทิศตะวันออก
  8. สมุดข่อยนอกจากนี้ต้นข่อยเป็นวัสดุที่ใช้ในการสื่อสารที่สำคัญในอดีตหรือที่เรียกกันว่า “สมุดข่อย” เพราะเนื้อไม้มีความแข็งแรงคงทน
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), เว็บไซต์โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพประกอบ : เว็บไซต์สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมัธยมวัดเพลง จังหวัดนนทบุรี, www.kanchanapisek.or.th, photogangs.com (Worachat Tokaew), www.tonkla.tht.in, www.thiposot.com
เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)

               สมุนไพร            สมุนไพร  หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามต...